Tuesday, June 11, 2013

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์

วนอุทยานพนมสวาย

การเดินทาง สามารถเดินทางโดยใช้รถยนต์ จักรยานยนต์ ขึ้นไปบนเขาได้ ระยะทางจากถนนสายสุรินทร์-ปราสาท เข้าไปภายในเขาพนมสวายประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นถนนราดยางเดินทางสะดวก แต่ช่วงกิโลเมตรที่ 3 มีโรงงานโม่หินรถบรรทุกเข้าออกตลอดเวลามีฝุ่นละออง อาจต้องเตรียมผ้าปิดจมูก
พระพุทธสุรินทรมงคล
ไปด้วย สภาพเป็นพื้นที่ราบสูง ภูเขา ตั้งอยู่ในเขตตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 21 กิโลเมตร มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์สีขาวปางประทานพร คือ พระพุทธสุรินทรมงคล มองเห็นตั้งตระหง่านอยู่บนเขา ก่อนขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูป หน้าทางเข้าจะมีเจ้าหน้าที่คอยแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและร่วมทำบุญโดยการซื้อไม้เคาะระฆังราคา 50 บาท สามารถนำกลับบ้านได้แต่ต้องเก็บไว้บนที่สูงเพื่อเป็นสิริมงคล การเคาะระฆังไปด้วยขณะเดินขึ้นบันไดบนเขาช่วยให้ไม่เหนื่อยเพราะจิตใจจดจ่ออยู่กับการนับจำนวนระฆังหรือบางคนกำลังอธิษฐานจิตเพื่อให้ชีวิตสงบร่มเย็นถือว่าเป็นประโยชน์มากเลยทีเดียวและต้องเข้าไปกราบนมัสการรูปปั้นเสมือนซึ่งเป็นสถูปที่เก็บอัฐิธาตุพระราชวุฒาจารย์ หรือหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระเกจิสายวิปัสสนา วัดพนมศิลาราม และศาลเจ้าแม่กวนอิม ให้ประชาชนได้เคารพบูชา
"พนมสวาย" เป็นคำภาษาพื้นที่เมืองสุรินทร์ "พนม" แปลว่าภูเขา "สวาย" แปลว่า "มะม่วง" พนมสวาย เป็นภูเขาที่โผล่ขึ้นมาโดดๆบนที่ราบทำนาของจังหวัดสุรินทร์ เป็นภูเขาเตี้ย ๆ มียอดเขาอยู่ 3 ยอด
ยอดที่ 1 มีชื่อว่ายอดเขาชาย (พนมเปร๊าะ) สูง 210 เมตร เป็นที่ตั้งของวัดพนมสวาย มีบันไดก่ออิฐถือปูนขึ้นถึงวัด ระหว่างทางเรียงรายไปด้วยระฆังจำนวน 1,080 ใบให้ผู้มาเยือนเคาะเพื่อความเป็นสิริมงคล มีสระน้ำกว้างใหญ่และร่มรื่นด้วยต้นไม้ บนเขาเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคล เป็นพระพุทธรูปสีขาว ปางประทานพร ภปร. ขนาดหน้าตักกว้าง 15 เมตร สูง 21.50 เมตร มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุที่บริเวณพระนาภี
ยอดที่ 2 มีชื่อว่ายอดเขาหญิง (พนมสรัย) สูงระดับ 228 เมตร เป็นที่ตั้งของวัดพนมศิลาราม ทางวัดได้จัดสร้างพระพุทธรูปองค์ขนาดกลางประดิษฐานบนยอดเขา และยังมี สระน้ำโบราณ 2 สระที่เชื่อว่าเป็นที่อยู่ของ เต่าศักดิ์สิทธิ์
ยอดที่ 3 มีชื่อว่าเขาคอก(พนมกรอล) พุทธสมาคมจังหวัด สุรินทร์ได้ จัดสร้างศาลาอัฏฐะมุข เป็นอนุสรณ์ฉลองครบรอบ 200 ปี แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เพื่อประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง จากยอดเขาชายมาประดิษฐานไว้ในศาลา โดยเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2524 และสำเร็จบริบูรณ์ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2525
ประวัติพระพุทธสุรินทรมงคล  จังหวัดสุรินทร์มีเทศกาลงานประเพณีว่า ทุกวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติประชาชนชาวสุรินทร์จะพากันเดินขึ้นเขาพนมสวาย โดยเชื่อว่าการได้ไปขึ้นเขาพนมสวายเป็นการเสริมสิริมงคลชีวิตแก่ตนและครอบครัว
เคาะระฆังเสริมสิริมงคล






เมื่อ พ.ศ.2512 พล.ต.ต.วิเชียร ศรีมันตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ได้จัดสร้างพระกริ่งจอมสุรินทร์ให้ประชาชาชนเช่าบูชาและมีรายได้ประมาณ 1,500,000 บาท จึงมีความประสงค์ที่จะสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานไว้บนเขาพนมสวายบริเวณยอดเขาพนมเปร๊าะ (เขาชาย) จึงมอบให้พุทธสมาคมจังหวัดสุรินทร์เป็นผู้ดำเนินการ โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบพระพุทธรูป  การสร้างได้เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2518 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2520 งบประมาณในการก่อสร้างเป็นเงิน 1,400,000 บาท ในปี พ.ศ.2523 นายเสนอ  มูลศาสตร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขอพระราชทานนามและได้ทรงมีพระเมตตาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดและอยู่สูงที่สุดในจังหวัดสุรินทร์บนยอดเขาพนมเปร๊าะว่า "พระพุทธสุรินทรมงคล" เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2527 ได้ประกอบพิธีเบิกพระเนตรองค์พระพุทธสุรินทรมงคลพร้อมทั้งได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปบรรจุที่องค์พระพุทธรูปใหญ่ พุทธลักษณะของพระพุทธสุรินทรมงคลเป็นพระพุทธรูปปางประทานพรขนาดหน้าตักกว้าง 15 เมตร ความสูงองค์พระจากที่ประทับถึงยอดพระเกศ 21.50 เมตร องค์พระพุทธรูปเป็นโครงคอนกรีตเสริมเหล็ก พระเนตรขาวประดับด้วยเปลือกหอยมุก พระเนตรดำทำด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงหล่อรมดำ ประทับนั่งขัดสมาธิบนฐานที่ประทับที่มีบัวคว่ำบัวหงาย ซึ่งมีลักษณะและฐานพระแบบเดียวกันกับพระพุทธรูป ภ.ป.ร.
       ใน พ.ศ.2548 จังหวัดสุรินทร์ได้สนับสนุนงบประมาณบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ ในการก่อสร้างซุ้มประตูและเสานางเรียง เป็นเงิน 4,000,000 บาท ใน พ.ศ.2549 ได้สนับสนุนงบประมาณบริหารจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อขยายเขตจำหน่ายไฟฟ้าเข้าที่ทำการวนอุทยานพนมสวาย เป็นเงิน 210,000 บาท และใน พ.ศ.2550 ได้สนับสนุนงบประมาณยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขและงบบริหารจังหวัดแบบบูรณาการในการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร(Check Dam) ตามแนวพระราชดำริ ปลูกต้นไม้ตามโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา และซ่อมแซมศาลาที่พักนักท่องเที่ยว จำนวน 2 แห่ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,644,960 บาท
      ใน พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จังหวัดสุรินทร์ โดยนายพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ และคณะกรรมการจัดสร้างพระกริ่งจอมสุรินทร์รุ่น "บูรณะศาลหลักเมืองสุรินทร์" ได้นำเงินรายได้ส่วนหนึ่งจากการให้ประชาชนเช่าบูชาพระกริ่งจอมสุรินทร์ มาทำการปรับปรุงศาสนสถานและสาธารณูปโภคภายในวนอุทยานพนมสวายได้แก่ บูรณะองค์พระพุทธสุรินทรมงคล โดยการทาสีใหม่ ก่อสร้างทางเดินรอบองค์  ปรับปรุงบันไดทางขึ้น และลานนมัสการ ทาสีศาลาอัฏฐมุขฉลองกรุงเทพฯ 200 ปี ขยายเขตจำหน่ายไฟฟ้าจากซุ้มประตูจนถึงที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคล ก่อสร้างระบบประปา(ผาดอกบัว) ก่อสร้างห้องสุขาสำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน 10 ห้อง รวมเป็นเงินประมาณ 4,000,000 บาท และร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ จัดหาระฆัง จำนวน 1080 ใบ จากวัดทั้งหมดในจังหวัดสุรินทร์และวัดสำคัญอีก 10 วัด ไปติดตั้งบริเวณทางขึ้นไปนมัสการพระพุทธสุรินทรมงคลและบริเวณรอบสถูปสถานที่เก็บอัฐิธาตุหลวงปู่ดูลย์ เพื่อให้วนอุทยานพนมสวายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของจังหวัดสุรินทร์




No comments:

Post a Comment