Sunday, June 16, 2013

ปราสาทตาเมือน



ปราสาทตาเมือนธม



ปราสาทตาเมือนโต๊ด


ปราสาทตาเมือนธม  ( คำว่า ตา เมือนธม  เป็นภาษาเขมรแปลว่า ตาไก่ใหญ่ ) เป็นปราสาทหินทรายโบราณขนาดใหญ่ที่สุด ในกลุ่ม  ปราสาทตาเมือน โบราณสถานแบบขอม 3 หลัง อันประกอบไปด้วย ปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือนธม ปราสาททั้งสามตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน บนแนวภูเขาบรรทัด ในต.ตาเมียง กิ่ง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ติดชายแดนกัมพูชา ห่างเพียง 100 เมตรเท่านั้น โดยตัวปราสาทตาเมือนธม สร้างคร่อมโขดหินธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์ในรูปของสวยัมภูลึงค์ หรือลึงค์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และนี่เองที่เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า ปราสาทหลังนี้เป็นศาสนาสถานในศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย เป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรม แต่ภายหลังได้ถูกใช้เป็นพุทธสถาน นักโบราณคดีกำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่16-17ตรงกับศิลปะขอมแบบบาปวน
          ตัวปราสาทตาเมือนธมจะหันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทอื่นๆ ที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และทิศเหนือ เช่น ปราสาทพระวิหาร ซึ่งห่างจากด้านหน้าของปราสาทนี้ออกไปในเขตกัมพูชาจะมีสระน้ำ มีถนนตัดผ่านมาจากเมืองพระนครของเมืองเสียมราษฎร์ โดยถนนเส้นนี้ได้มีการกล่าวถึงในจารึกปราสาทพระขรรค์ ในเมืองพระนครว่า ได้ถูกตัดขึ้นในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1763) เพื่อเชื่อมระหว่างเมืองพระนครกับเมืองพิมาย ตัดผ่านมาถึงสระน้ำของปราสาทหลังนี้ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ามีความสำคัญพอสมควร 

ปราสาทตาเมือนธม

          อีกนัยหนึ่ง ปราสาทตาเมือนธม อยู่ห่างจากพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ 15 ไปทางตะวันตก ประมาณ 150 กิโลเมตร แม้จะไม่โด่งดังเท่าปราสาทนครวัด หรือ ปราสาทพระวิหาร แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมอันน่ามหัศจรรย์ของอาณาจักรขอมโบราณ ปราสาทตาเมือนธม ถูกสร้างเป็นพระตำหนักพักผ่อนของกษัตริย์ขอม ในยุคโบราณตั้งอยู่ริมถนน โบราณที่เชื่อมระหว่างเมืองที่ตั้งปราสาทนครวัดกับดินแดนที่เป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยในปัจจุบัน โดยฝ่ายไทยอ้างว่าปราสาทตาเมือนธมตั้งอยู่ในพื้นที่ทับซ้อน
          สิ่งสำคัญ "ปราสาทตาเมือนธม" นั้น ในอดีตสถานที่แห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่เชื่อว่าเป็น    ที่พักคนเดินทาง หรือที่เรียกกันว่า "ธรรมศาลา-บ้านมีไฟ" แห่งหนึ่งใน 121 แห่ง      ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายแห่งเมืองพระนคร โปรดฯ ให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณไปยังเมืองพิมาย จึงถือว่าเป็นปราสาทหินที่เชื่อมโยงเส้นทางอารยธรรมขอมโบราณระหว่างปราสาทนครวัด-นครธม ประเทศกัมพูชา กับปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ และ ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา
          นอกจากนี้ ปราสาทตาเมือนโต๊ด ในกลุ่ม ปราสาทตาเมือน ยังเป็น อโรคยศาลา (โรงพยาบาลในสมัยนั้น) หลังสุดท้ายในเขตประเทศไทย ที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งเป็น 1 ใน 102 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างเพื่อช่วยเหลืออาณาประชาราษฎร์ ดังข้อความในจารึกของพระองค์ที่พบในประเทศ ไทยหลักหนึ่งระบุว่า...ทุกข์ของประชาราษฎร์คือทุกข์ในพระองค์...

ปราสาทตาเมือน

          กรมศิลปากรสำรวจพบ และขึ้นบัญชีปราสาทตาเมือนธม ตั้งอยู่ในเขตไทยเป็นโบราณสถานของไทยตั้งแต่ปี 2478 หรือเมื่อ 73 ปีที่แล้ว ที่ผ่านมากรมศิลปากรได้บูรณะโดยทางการกัมพูชารับรู้มาตลอด






ปราสาทตาควาย


ปราสาทตาควาย
    ปราสาทตาควาย/ปราสาทกรอเบย ตั้งอยู่บริเวณช่องตาควาย ในเขตบ้านไทยนิยมพัฒนา หมู่ 17 ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทหินศิลาแลง ตั้งทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทตาเมือนธม ห่างไปประมาณ 12 กิโลเมตร ปราสาทตาควายตั้งอยู่บนสันเขาห่างจากหน้าผาสูงประมาณ 10 เมตร ของเทือกเขาพนมดงรัก เป็นปราสาทจตุรมุข ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ผังของปราสาทเป็นรูปกากบาท ส่วนฐานต่ำ ส่วนล่างสุดก่อด้วยศิลาแลง ส่วนบนก่อด้วยศิลาทรายทั้งหมด หลังคาห้องครรภคฤหะ ก่อเป็นทรงพุ่มยอดปรางค์ ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 5 ชั้น ส่วนหลังคามุขก่อเป็นรูปประทุน จรดหน้าบันทั้ง 4 ด้าน ภายในห้องมีประติมากรรม ลักษณะคล้ายสวายยัมภูวลึงค์ 1 ชิ้น ปราสาทตาควายเป็นปราสาทหลังเดียวโดดๆ ไม่ปรากฏว่ามีอาคารประกอบอื่นๆ เช่น ระเบียงคด บรรณาลัย หรือโคปุระ ตัวปราสาทก่อด้วยหินทราย คะเนด้วยสายตาว่าน่าจะมีความสูงประมาณ 12 - 15 เมตรจากพื้นดิน (ไม่รวมส่วนฐานที่คงยังฝังจมอ ยู่ในดิน) มีประตูทางเข้าสี่ด้าน ทุกด้านเป็นช่องประตูจริง มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า (ตะวันออก) เป็นมุขสั้นๆ ปัจจุบันพังทลายลงมาบางส่วน สภาพของปราสาทตาควายนับว่าสมบูรณ์มาก คือชั้นหลังคายังอยู่ทั้งหมดจนถึงบัวยอด แต่การก่อสร้างปราสาทแห่งนี้ยังไม่แล้วเสร็จ เพียงก่อขึ้นรูปไว้เท่านั้น ยังมิได้ขัดแต่งผิวหิน หรือแกะสลักลวดลายใดๆ ซึ่งนั่นเองอาจเป็นเหตุให้ปราสาทยังคงรูปอยู่ได้ โดยไม่ถูกทำลาย หรือลักลอบกะเทาะชิ้นส่วนต่างๆ ไป เช่นที่เกิดขึ้นกับปราสาทอื่นๆ ตามแนวชายแดน เช่นปราสาทตาเมือนธม การที่ไม่ปรากฏลวดลายอย่างหนึ่งอย่างใดเลยนี้ ทำให้กำหนดอายุปราสาทตาควายได้แต่เพียงกว้างๆ จากรูปทรงของตัวปราสาท ว่าน่าจะอยู่ในราวช่วงปลายสมัยนครวัด ต่อตอนต้นสมัยบายน หรือรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ถึงรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ปราสาทหินแห่งใหม่ที่พบในป่าทึบนี้เรียกกันตามชื่อช่องเขาว่า "ปราสาทตาควาย" แต่เนื่องจากการเก็บกู้กับระเบิดในบริเวณนั้นยังไม่เสร็จสิ้น ทั้งยังเป็นเขตที่มิได้มีการปักปันพรมแดนกันอย่างชัดเจนการเดินทางเข้าไปยังปราสาทตาควาย จึงจำเป็นต้องติดต่อประสานกับทางหน่วยทหารพรานของกองกำลังสุรนารีในพื้นที่เพื่อขอกำลังอารักขาดูแลความปลอดภัย ทำนองเดียวกันกับการเข้าไปยังกลุ่มปราสาทตาเมือนในช่วงสิบกว่าปีก่อนแม้ว่าสัมพันธภาพระหว่างหน่วยทหารพรานของไทย กับกำลังตำรวจของกัมพูชาจะเป็นไปด้วยดี มีการเยี่ยมเยียนไปมาหาสู่ และออกลาดตระเวนร่วมกันเสมอหากแต่การจะพัฒนาปราสาทตาควายให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ หรือแม้แต่การที่จะมีนักท่องเที่ยวไทยเข้าไปกันเป็นจำนวนมากนั้น ย่อมไม่เป็นที่พอใจของฝ่ายกัมพูชานัก ดังปรากฏท่าทีว่าตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2544 หนังสือพิมพ์ของกัมพูชา อย่างน้อยสองฉบับ ก็เคยลงข่าวว่ากองกำลังของไทยลักลอบนำสารเคมีมาโปรยที่ปราสาท กรอเบย (กระบือ - ควาย) ในเขตเทือกเขาพนมดงรัก ทำให้ตัวปราสาทพังทลายลงมา หนังสือพิมพ์ มนสิการเขมร เสริมด้วยว่า "ประเทศไทยกำลังทำสงคราม ทำลายวัฒนธรรม และทำสงครามช่วงชิงดินแดนของประเทศกัมพูชาแล้ว"ทำไมถึงชื่อปราสาทตาควาย นายประจวบ เสงี่ยมทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบักไดบอกว่า ชาวบ้านเล่าต่อๆ กันมาว่า มีชาวบ้านส่องสัตว์ตอนกลางคืน เห็นตาควายจึงเดินเข้าไปปรากฏว่าเป็นปราสาทเรื่องลักษณะนี้ ก็เหมือนกับปราสาท ตาเมือนที่ชาวบ้านเห็นไก่เมื่อตามเข้าไปก็พบปราสาทมูลเหตุที่เป็นเช่นนี้นายประจวบวิเคราะห์ว่า เพราะที่ตั้งของปราสาททั้งสองอยู่ในป่าทึบ เป็นที่อยู่ของสัตว์ต่างๆ นั่นเอง
ปราสาทตาควาย

ด้านในองค์ปราสาท

Tuesday, June 11, 2013

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์

วนอุทยานพนมสวาย

การเดินทาง สามารถเดินทางโดยใช้รถยนต์ จักรยานยนต์ ขึ้นไปบนเขาได้ ระยะทางจากถนนสายสุรินทร์-ปราสาท เข้าไปภายในเขาพนมสวายประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นถนนราดยางเดินทางสะดวก แต่ช่วงกิโลเมตรที่ 3 มีโรงงานโม่หินรถบรรทุกเข้าออกตลอดเวลามีฝุ่นละออง อาจต้องเตรียมผ้าปิดจมูก
พระพุทธสุรินทรมงคล
ไปด้วย สภาพเป็นพื้นที่ราบสูง ภูเขา ตั้งอยู่ในเขตตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 21 กิโลเมตร มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์สีขาวปางประทานพร คือ พระพุทธสุรินทรมงคล มองเห็นตั้งตระหง่านอยู่บนเขา ก่อนขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูป หน้าทางเข้าจะมีเจ้าหน้าที่คอยแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและร่วมทำบุญโดยการซื้อไม้เคาะระฆังราคา 50 บาท สามารถนำกลับบ้านได้แต่ต้องเก็บไว้บนที่สูงเพื่อเป็นสิริมงคล การเคาะระฆังไปด้วยขณะเดินขึ้นบันไดบนเขาช่วยให้ไม่เหนื่อยเพราะจิตใจจดจ่ออยู่กับการนับจำนวนระฆังหรือบางคนกำลังอธิษฐานจิตเพื่อให้ชีวิตสงบร่มเย็นถือว่าเป็นประโยชน์มากเลยทีเดียวและต้องเข้าไปกราบนมัสการรูปปั้นเสมือนซึ่งเป็นสถูปที่เก็บอัฐิธาตุพระราชวุฒาจารย์ หรือหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระเกจิสายวิปัสสนา วัดพนมศิลาราม และศาลเจ้าแม่กวนอิม ให้ประชาชนได้เคารพบูชา
"พนมสวาย" เป็นคำภาษาพื้นที่เมืองสุรินทร์ "พนม" แปลว่าภูเขา "สวาย" แปลว่า "มะม่วง" พนมสวาย เป็นภูเขาที่โผล่ขึ้นมาโดดๆบนที่ราบทำนาของจังหวัดสุรินทร์ เป็นภูเขาเตี้ย ๆ มียอดเขาอยู่ 3 ยอด
ยอดที่ 1 มีชื่อว่ายอดเขาชาย (พนมเปร๊าะ) สูง 210 เมตร เป็นที่ตั้งของวัดพนมสวาย มีบันไดก่ออิฐถือปูนขึ้นถึงวัด ระหว่างทางเรียงรายไปด้วยระฆังจำนวน 1,080 ใบให้ผู้มาเยือนเคาะเพื่อความเป็นสิริมงคล มีสระน้ำกว้างใหญ่และร่มรื่นด้วยต้นไม้ บนเขาเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคล เป็นพระพุทธรูปสีขาว ปางประทานพร ภปร. ขนาดหน้าตักกว้าง 15 เมตร สูง 21.50 เมตร มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุที่บริเวณพระนาภี
ยอดที่ 2 มีชื่อว่ายอดเขาหญิง (พนมสรัย) สูงระดับ 228 เมตร เป็นที่ตั้งของวัดพนมศิลาราม ทางวัดได้จัดสร้างพระพุทธรูปองค์ขนาดกลางประดิษฐานบนยอดเขา และยังมี สระน้ำโบราณ 2 สระที่เชื่อว่าเป็นที่อยู่ของ เต่าศักดิ์สิทธิ์
ยอดที่ 3 มีชื่อว่าเขาคอก(พนมกรอล) พุทธสมาคมจังหวัด สุรินทร์ได้ จัดสร้างศาลาอัฏฐะมุข เป็นอนุสรณ์ฉลองครบรอบ 200 ปี แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เพื่อประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง จากยอดเขาชายมาประดิษฐานไว้ในศาลา โดยเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2524 และสำเร็จบริบูรณ์ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2525
ประวัติพระพุทธสุรินทรมงคล  จังหวัดสุรินทร์มีเทศกาลงานประเพณีว่า ทุกวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติประชาชนชาวสุรินทร์จะพากันเดินขึ้นเขาพนมสวาย โดยเชื่อว่าการได้ไปขึ้นเขาพนมสวายเป็นการเสริมสิริมงคลชีวิตแก่ตนและครอบครัว
เคาะระฆังเสริมสิริมงคล






เมื่อ พ.ศ.2512 พล.ต.ต.วิเชียร ศรีมันตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ได้จัดสร้างพระกริ่งจอมสุรินทร์ให้ประชาชาชนเช่าบูชาและมีรายได้ประมาณ 1,500,000 บาท จึงมีความประสงค์ที่จะสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานไว้บนเขาพนมสวายบริเวณยอดเขาพนมเปร๊าะ (เขาชาย) จึงมอบให้พุทธสมาคมจังหวัดสุรินทร์เป็นผู้ดำเนินการ โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบพระพุทธรูป  การสร้างได้เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2518 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2520 งบประมาณในการก่อสร้างเป็นเงิน 1,400,000 บาท ในปี พ.ศ.2523 นายเสนอ  มูลศาสตร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขอพระราชทานนามและได้ทรงมีพระเมตตาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดและอยู่สูงที่สุดในจังหวัดสุรินทร์บนยอดเขาพนมเปร๊าะว่า "พระพุทธสุรินทรมงคล" เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2527 ได้ประกอบพิธีเบิกพระเนตรองค์พระพุทธสุรินทรมงคลพร้อมทั้งได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปบรรจุที่องค์พระพุทธรูปใหญ่ พุทธลักษณะของพระพุทธสุรินทรมงคลเป็นพระพุทธรูปปางประทานพรขนาดหน้าตักกว้าง 15 เมตร ความสูงองค์พระจากที่ประทับถึงยอดพระเกศ 21.50 เมตร องค์พระพุทธรูปเป็นโครงคอนกรีตเสริมเหล็ก พระเนตรขาวประดับด้วยเปลือกหอยมุก พระเนตรดำทำด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงหล่อรมดำ ประทับนั่งขัดสมาธิบนฐานที่ประทับที่มีบัวคว่ำบัวหงาย ซึ่งมีลักษณะและฐานพระแบบเดียวกันกับพระพุทธรูป ภ.ป.ร.
       ใน พ.ศ.2548 จังหวัดสุรินทร์ได้สนับสนุนงบประมาณบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ ในการก่อสร้างซุ้มประตูและเสานางเรียง เป็นเงิน 4,000,000 บาท ใน พ.ศ.2549 ได้สนับสนุนงบประมาณบริหารจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อขยายเขตจำหน่ายไฟฟ้าเข้าที่ทำการวนอุทยานพนมสวาย เป็นเงิน 210,000 บาท และใน พ.ศ.2550 ได้สนับสนุนงบประมาณยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขและงบบริหารจังหวัดแบบบูรณาการในการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร(Check Dam) ตามแนวพระราชดำริ ปลูกต้นไม้ตามโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา และซ่อมแซมศาลาที่พักนักท่องเที่ยว จำนวน 2 แห่ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,644,960 บาท
      ใน พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จังหวัดสุรินทร์ โดยนายพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ และคณะกรรมการจัดสร้างพระกริ่งจอมสุรินทร์รุ่น "บูรณะศาลหลักเมืองสุรินทร์" ได้นำเงินรายได้ส่วนหนึ่งจากการให้ประชาชนเช่าบูชาพระกริ่งจอมสุรินทร์ มาทำการปรับปรุงศาสนสถานและสาธารณูปโภคภายในวนอุทยานพนมสวายได้แก่ บูรณะองค์พระพุทธสุรินทรมงคล โดยการทาสีใหม่ ก่อสร้างทางเดินรอบองค์  ปรับปรุงบันไดทางขึ้น และลานนมัสการ ทาสีศาลาอัฏฐมุขฉลองกรุงเทพฯ 200 ปี ขยายเขตจำหน่ายไฟฟ้าจากซุ้มประตูจนถึงที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคล ก่อสร้างระบบประปา(ผาดอกบัว) ก่อสร้างห้องสุขาสำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน 10 ห้อง รวมเป็นเงินประมาณ 4,000,000 บาท และร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ จัดหาระฆัง จำนวน 1080 ใบ จากวัดทั้งหมดในจังหวัดสุรินทร์และวัดสำคัญอีก 10 วัด ไปติดตั้งบริเวณทางขึ้นไปนมัสการพระพุทธสุรินทรมงคลและบริเวณรอบสถูปสถานที่เก็บอัฐิธาตุหลวงปู่ดูลย์ เพื่อให้วนอุทยานพนมสวายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของจังหวัดสุรินทร์