ปราสาทตาเมือนธม |
ปราสาทตาเมือนโต๊ด |
ปราสาทตาเมือนธม ( คำว่า ตา เมือนธม เป็นภาษาเขมรแปลว่า
ตาไก่ใหญ่ ) เป็นปราสาทหินทรายโบราณขนาดใหญ่ที่สุด ในกลุ่ม ปราสาทตาเมือน
โบราณสถานแบบขอม 3 หลัง อันประกอบไปด้วย ปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือนโต๊ด
และปราสาทตาเมือนธม ปราสาททั้งสามตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน บนแนวภูเขาบรรทัด
ในต.ตาเมียง กิ่ง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ติดชายแดนกัมพูชา ห่างเพียง 100 เมตรเท่านั้น
โดยตัวปราสาทตาเมือนธม สร้างคร่อมโขดหินธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์ในรูปของสวยัมภูลึงค์
หรือลึงค์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และนี่เองที่เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า
ปราสาทหลังนี้เป็นศาสนาสถานในศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย
เป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรม แต่ภายหลังได้ถูกใช้เป็นพุทธสถาน
นักโบราณคดีกำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่16-17ตรงกับศิลปะขอมแบบบาปวน
ตัวปราสาทตาเมือนธมจะหันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทอื่นๆ ที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และทิศเหนือ เช่น ปราสาทพระวิหาร ซึ่งห่างจากด้านหน้าของปราสาทนี้ออกไปในเขตกัมพูชาจะมีสระน้ำ มีถนนตัดผ่านมาจากเมืองพระนครของเมืองเสียมราษฎร์ โดยถนนเส้นนี้ได้มีการกล่าวถึงในจารึกปราสาทพระขรรค์ ในเมืองพระนครว่า ได้ถูกตัดขึ้นในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1763) เพื่อเชื่อมระหว่างเมืองพระนครกับเมืองพิมาย ตัดผ่านมาถึงสระน้ำของปราสาทหลังนี้ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ามีความสำคัญพอสมควร
อีกนัยหนึ่ง ปราสาทตาเมือนธม อยู่ห่างจากพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ 15 ไปทางตะวันตก ประมาณ 150 กิโลเมตร แม้จะไม่โด่งดังเท่าปราสาทนครวัด หรือ ปราสาทพระวิหาร แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมอันน่ามหัศจรรย์ของอาณาจักรขอมโบราณ ปราสาทตาเมือนธม ถูกสร้างเป็นพระตำหนักพักผ่อนของกษัตริย์ขอม ในยุคโบราณตั้งอยู่ริมถนน โบราณที่เชื่อมระหว่างเมืองที่ตั้งปราสาทนครวัดกับดินแดนที่เป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยในปัจจุบัน โดยฝ่ายไทยอ้างว่าปราสาทตาเมือนธมตั้งอยู่ในพื้นที่ทับซ้อน
สิ่งสำคัญ "ปราสาทตาเมือนธม" นั้น ในอดีตสถานที่แห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่เชื่อว่าเป็น ที่พักคนเดินทาง หรือที่เรียกกันว่า "ธรรมศาลา-บ้านมีไฟ" แห่งหนึ่งใน 121 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายแห่งเมืองพระนคร โปรดฯ ให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณไปยังเมืองพิมาย จึงถือว่าเป็นปราสาทหินที่เชื่อมโยงเส้นทางอารยธรรมขอมโบราณระหว่างปราสาทนครวัด-นครธม ประเทศกัมพูชา กับปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ และ ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา
นอกจากนี้ ปราสาทตาเมือนโต๊ด ในกลุ่ม ปราสาทตาเมือน ยังเป็น อโรคยศาลา (โรงพยาบาลในสมัยนั้น) หลังสุดท้ายในเขตประเทศไทย ที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งเป็น 1 ใน 102 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างเพื่อช่วยเหลืออาณาประชาราษฎร์ ดังข้อความในจารึกของพระองค์ที่พบในประเทศ ไทยหลักหนึ่งระบุว่า...ทุกข์ของประชาราษฎร์คือทุกข์ในพระองค์...
กรมศิลปากรสำรวจพบ และขึ้นบัญชีปราสาทตาเมือนธม ตั้งอยู่ในเขตไทยเป็นโบราณสถานของไทยตั้งแต่ปี 2478 หรือเมื่อ 73 ปีที่แล้ว ที่ผ่านมากรมศิลปากรได้บูรณะโดยทางการกัมพูชารับรู้มาตลอด
ตัวปราสาทตาเมือนธมจะหันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทอื่นๆ ที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และทิศเหนือ เช่น ปราสาทพระวิหาร ซึ่งห่างจากด้านหน้าของปราสาทนี้ออกไปในเขตกัมพูชาจะมีสระน้ำ มีถนนตัดผ่านมาจากเมืองพระนครของเมืองเสียมราษฎร์ โดยถนนเส้นนี้ได้มีการกล่าวถึงในจารึกปราสาทพระขรรค์ ในเมืองพระนครว่า ได้ถูกตัดขึ้นในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1763) เพื่อเชื่อมระหว่างเมืองพระนครกับเมืองพิมาย ตัดผ่านมาถึงสระน้ำของปราสาทหลังนี้ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ามีความสำคัญพอสมควร
ปราสาทตาเมือนธม |
อีกนัยหนึ่ง ปราสาทตาเมือนธม อยู่ห่างจากพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ 15 ไปทางตะวันตก ประมาณ 150 กิโลเมตร แม้จะไม่โด่งดังเท่าปราสาทนครวัด หรือ ปราสาทพระวิหาร แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมอันน่ามหัศจรรย์ของอาณาจักรขอมโบราณ ปราสาทตาเมือนธม ถูกสร้างเป็นพระตำหนักพักผ่อนของกษัตริย์ขอม ในยุคโบราณตั้งอยู่ริมถนน โบราณที่เชื่อมระหว่างเมืองที่ตั้งปราสาทนครวัดกับดินแดนที่เป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยในปัจจุบัน โดยฝ่ายไทยอ้างว่าปราสาทตาเมือนธมตั้งอยู่ในพื้นที่ทับซ้อน
สิ่งสำคัญ "ปราสาทตาเมือนธม" นั้น ในอดีตสถานที่แห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่เชื่อว่าเป็น ที่พักคนเดินทาง หรือที่เรียกกันว่า "ธรรมศาลา-บ้านมีไฟ" แห่งหนึ่งใน 121 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายแห่งเมืองพระนคร โปรดฯ ให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณไปยังเมืองพิมาย จึงถือว่าเป็นปราสาทหินที่เชื่อมโยงเส้นทางอารยธรรมขอมโบราณระหว่างปราสาทนครวัด-นครธม ประเทศกัมพูชา กับปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ และ ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา
นอกจากนี้ ปราสาทตาเมือนโต๊ด ในกลุ่ม ปราสาทตาเมือน ยังเป็น อโรคยศาลา (โรงพยาบาลในสมัยนั้น) หลังสุดท้ายในเขตประเทศไทย ที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งเป็น 1 ใน 102 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างเพื่อช่วยเหลืออาณาประชาราษฎร์ ดังข้อความในจารึกของพระองค์ที่พบในประเทศ ไทยหลักหนึ่งระบุว่า...ทุกข์ของประชาราษฎร์คือทุกข์ในพระองค์...
ปราสาทตาเมือน |
กรมศิลปากรสำรวจพบ และขึ้นบัญชีปราสาทตาเมือนธม ตั้งอยู่ในเขตไทยเป็นโบราณสถานของไทยตั้งแต่ปี 2478 หรือเมื่อ 73 ปีที่แล้ว ที่ผ่านมากรมศิลปากรได้บูรณะโดยทางการกัมพูชารับรู้มาตลอด