Thursday, January 27, 2022

ป้าย โปสเตอร์ การดูแลผู้ป่วยเมื่อเกิดแผลกดทับ (Bed sore)

 การดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ

การดูแลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ
โปสเตอร์แผลกดทับ

1.เปลี่ยนท่านอนให้บ่อย พลิกตะแคงตัว เท่าที่จะทำได้

2.ที่นอนต้องทำความสะอาด อากาศถ่ายเท ไม่อับชื้น

3.ออกกำลังกายแขน ขา ตามข้อต่อต่างๆ ทั้งด้วยตนเองหากผู้ป่วยทำได้ (active exercise) และผู้ดูแลช่วยทำให้ (passive exercise) ป้องกันปัญหาข้อติด เท้าตก

4.หากแผลกดทับ ซึ่งพบมากโดยเฉพาะบริเวณก้น ทำแผล ปิดก๊อส ทั้งแผลแบบแห้ง(dry dressing) หรือ แผลแบบเปียก (wet dressing)ใช้ก๊อสชุบ 0.9% NSS แพ็คและปิดแผลไว้ หากแผลไม่ซึมมาก ล้างแผลอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง

5.บริเวณปุ่มกระดูกตามร่างกาย หากมีผ้านุ่มรองนอน หรือมีเตียงลม จะช่วยลดการเกิดแผลกดทับ ได้ หากพอมีกำลังทรัพย์ สามารถซื้อเองหรือติดต่อ รพ.สต.ใกล้บ้าน เพื่อรับการสนับสนุน งบ LTC สามารถจัดซื้อได้

6.สำหรับผู้ป่วยที่ใส่ผ้าอ้อมหากชุ่มมากพิจารณาเปลี่ยน ตามความเหมาะสม

7.ถ้าผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือโรคทีีขัดขับการดูแลรักษา สามารถนวดตามจุดสัมผัส ปุ่มกระดูก เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ป้องกันการเกิดแผลกดทับได้ โรคบางอย่างไม่สมควรนวด เช่น มะเร็งระยะแพร่กระจาย จะทำให้โรคลุกลามเร็วมากขึ้น

8.รับประทานอาหารครบถ้วน โดยเฉพาะอาหาร จำพวกโปรตีน เนื้อ นม ไข่ ผัก ผลไม้ วิตามิน ธาตุเหล็ก เกลือแร่ น้ำดื่ม

ด้วยความปรารถนาดีจาก : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาต ต.ระเวียง อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์
อ้างอิงจาก : นายวัชรพงศ์  สุกใส พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

 Flag Counter

Wednesday, January 26, 2022

ป้าย โปสเตอร์ การดูแลผู้ป่วยให้อาหารทางสายยาง ญาติ ผู้ดูแล care giver ก็ทำได้

 การให้อาหารทางสายยาง

 
การดูแลผู้ป่วยให้อาหารทางสายยาง
โปสเตอร์ ให้อาหารทางสายยาง

1.แปรงฟัน หรือทำความสะอาดช่องปาก อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

2.ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วทำความสะอาดรูจมูกทั้ง 2 ข้าง

3.ติดพลาสเตอร์ตรึงให้สายยางอยู่กับที่ไม่เลื่อนหลุด

4.ทดสอบว่าสายอาหารอยู่ในกระเพาะอาหาร โดยใช้กระบอกให้อาหาร(asepto syringe 50 cc.) ดูดอาหารที่เหลือค้าง สังเกตว่ามีอาหารออกมา หรือใช้แก้วใส่น้ำเปิดจุกปลายสายยางจุ่มลงในแก้วและสังเกตไม่มีฟองอากาศผุดขึ้นมาขณะจุ่มสาย เพื่อให้แน่ใจว่าสายยางไม่อยู่ในหลอดลม

5.ก่อน Feed อาหารให้ น้ำสะอาดก่อน ประมาณ 30-50 ซีซี เพื่อให้อาหารไหลได้สะดวกมากขึ้น และ Feed น้ำสะอาดอีกครั้งหลังจากให้อาหารเสร็จ ป้องกันสายยางอุดตันจากเศษอาหารเหลือค้าง

6.ปิดจุกสายยางป้องกันลมเข้าท้อง ทำให้ท้องอืดได้

7.เปลี่ยนสายยางให้อาหาร อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

 ด้วยความปรารถนาดีจาก : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาต ต.ระเวียง อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์
อ้างอิงจาก : นายวัชรพงศ์  สุกใส พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

 Flag Counter


Sunday, January 23, 2022

ป้าย โปสเตอร์ การดูแลผู้ป่วยติดเตียง LTC ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่ใส่สายสวนปัสสาวะ

การดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้ที่บ้าน 

การดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ
โปสเตอร์ คาสายสวนปัสสาวะ

1.บีบรีดสายสวนปัสสาวะ(milking tube)ไม่ให้ตะกอนอุดสายสวน ระวังสายสวนหักพับงอ 

2.แขวนถุงปัสสาวะ(Urine bag)ให้ต่ำกว่าระดับเอว ระวังไม่ให้ปัสสาวะไหลย้อนกลับ 

3.กรณีฉุกเฉิน สายปัสสาวะอุดตัน ช่วงกลางคืน หรือเวลาที่ไม่สามารถเดินทางไปรพ.หรือสถานบริการได้ ผู้ป่วยปวดเบ่งปัสสาวะมาก ตึงเกร็งท้องน้อย ให้ใช้ Syringe ขนาด 3, 5 หรือ 10 cc.สวมเข้าไปทีจุกบอลลูนของสายปัสสาวะ สังเกตหัวจุกจะมีสีแดง เขียว ส้ม ตามขนาดของสาย น้ำบอลลูนจะดันออกมาเอง 8-10 cc. จนน้ำออกหมด แล้วค่อยๆถอดสายสวนออก หากไม่มีน้ำออก ลอกขยับเลื่อนสายสวนเล็กน้อย ถ้าขยับไม่ออกไม่ควรดึงสาย อาจมีตะกอนไปอุดที่ท่อน้ำบอลลูน(กรณีนี้ต้องไป รพ.ทันที)

 4.ดื่มน้ำบ่อยๆ วันละ 8-10 แก้ว หรือ 2,500-3,000 cc.(กรณีผู้ป่วยไม่ได้จำกัดน้ำหรือผู้ป่วยโรคไต เป็นต้น)  

 5.หมั่นดูแลรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ุ หรือช่วงขับถ่ายอุจจาระ

 6.โดยเฉลี่ยควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะ เดือนละ 1 ครั้ง สำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่นอนอยู่ที่บ้าน

 
ด้วยความปรารถนาดีจาก : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาต ต.ระเวียง อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์
อ้างอิงจาก : นายวัชรพงศ์  สุกใส พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ


Flag Counter