Monday, March 23, 2015

พืชสมุนไพร อาหารสมุนไพร

https://www.lottovip.com/register/af/2035330

sabah snake grass of cutting herbal plant from Thailand or Clinacanthus nutans

(เสลดพังพอนตัวเมีย)



Useful:

Sabah Snak Grass  or Clinacanthus nutans

The Sabah Snake Grass is a native plant of South East Asia. It is mainly found in Thailand, Malaysia and Indonesia. This plant was
originally used for treating fractures, diabetes, kidney problems, diuretic and has anti viral, anti bacteria and anti fungus properties. It was said that this plant was first introduced by the communist in Thailand and Malaysia when they surrendered a few decades ago to the people in Thailand and Malaysia.
>>Detail<<

 Acacia pennata (ชะอม)


 
Useful:
 
   Acacia pennata subsp. insuavis (common name cha-om) is one of thirteen Acacia species native to Thailand. This thorny multipurpose shrub or small tree up to 5 m tall grows extensively throughout the country in homestead. However, small plantations for commercial harvest of edible leaves can be also found.

   The stem is thorny. Young branches are pubescent, green in colour and turn brown with age. A large gland is present on the main rachis of leaves above the middle of the petiole. Leaves are bipinnate, pinnae 8-18 pairs; pinnules linear-oblong, glabrous, base oblique or truncate, up to 50 pairs per pinna, ciliate on the margins loosely set and overlapping. Flowers are in large terminal panicles, heads globose and pale yellow. The pods are thin, flat and long with thick sutures.

    Young leaves, though having a very strong smell, are an important food source for Thai people. Each 100 g of fresh leaves contains: 57 kilocalories, 5.7 g fibre, 58 mg calcium, 80 mg phosphorus, 4.1 mg iron, 10066 IU vitamin A, 0.05 mg vitamin B1, 0.24 mg vitamin B2, 1.5 mg Niazin and 58 mg vitamin C.


 Harvest of leaves of Acacia pennata subsp. insuavis in Thailand

    Thai people eat raw or fast-boiled leaves but always with 'samba', a spicy sauce which is a mixture of garlic, chilli, salt, lemon juice, shrimp and shrimp paste. Leaves can be used as a vegetable in several hot spicy foods. More often, the leaves are cooked in an omelette and eaten with hot 'samba'. This is one of the most common dishes throughout the country. Kaeng Kae, a northern Thai curry, will not be accepted without the addition of A. pennata leaves.

    Acacia pennata is also used as a medicine. In India, leaf juice mixed with milk is used for treatment of indigestion in infants. It is also used for scalding of urine and for curing bleeding gums. Some people use boiled tender leaves for cholera treatment, digestive complaints, relief of headache, body pain, snake bites, and even to cure fish poisoning. The root can be used for inducing flatulency and to cure stomach pain. The bark is used for treatment of bronchitis, asthma and for stomach complaints.

   The smell from young leaves of A. pennata is very strong for myna (Gracula religiosa) birds. In Thailand people do not put this acacia near the myna cage, otherwise the birds may die.

   Acacia pennata subsp. insuavis is normally propagated by seed although vegetative propagation by cutting or grafting is feasible. Natural regeneration is good. In common practice, seeds are sown in containers and watered once a day. The seedlings are transplanted in the field in the rainy season at 4-5 m spacing. In northern Thailand, seeds are sown in the rice field in which they will germinate after rice harvest. Young shoots (leaves) can be collected twice for food before the plants are ploughed in as green manure.>>Detail<<




Flag Counter
 
https://www.lottovip.com/register/af/2035330 Flag Counter หวย หวยออนไลน์ Jetsadabet เว็บแทงหวยทุกชนิด บริหารงานมากว่า 10 ปี อัตราจ่าย (2 ตัวบาทละ 92 | 3 ตัวบาทละ 800) เว็บไซต์ : https://www.lottothai-bet.com/AF2/index?af=4v5vkrXyf2EjKy3AexqOLw8181

Saturday, February 28, 2015

วิธีการสมัคร NeoBux เขียนโดย Wirote

 
วิธีสมัคร ง่ายมาก แค่ 4 ขั้นตอนดังนี้
1. เข้าไปที่ www.neobux.com
แล้วคลิกปุ่มสมัครที่ ปุ่ม Register ดังรูปข้างล่าง

2.เสร็จแล้วกรอกข้อมูลให้ครบทุกช่องตามความจริง (ตรง ชื่อ login กับ รหัสผ่าน ให้จดไว้จะได้ไม่ลืม ) ตามรูปข้างล่าง

ในช่อง Paypal Email (หรือ Email รับเงิน) ให้ใส่ Email ที่สมัครไว้กับ Paypal ถ้ายังไม่มีให้ใส่ Email อะไรของเราไปก่อนก็ได้
แล้วค่อยใช้อีเมลล์นี้ไปสมัคร Paypalทีหลัง ดูวิธีสมัคร Paypal คลิกที่นี่
3.หลังจากสมัครเสร็จจะได้หน้ายืนยันอีเมลล์ ตามรูปด้านล่าง เปิดหน้านี้ไว้ก่อนครับ (ห้ามปิดหน้านี้เด็ดขาด)




แล้วไปเช็คอีเมลล์ที่สมัครไว้กับ Neobux (ถ้าไม่เจอใน inbox จะอยู่ในอีเมลล์ขยะ )


4.เช็คอีเมลล์ที่ Neobux ส่งมา แล้วก๊อบเอาโค้ดจากรูปข้างล่างไปวางในช่องดังรูปข้างบน ซึ่งเป็นหน้าที่เปิดไว้ตะกี้
แล้วกดปุ่ม Fisnish Registeration เท่านี้เราก็สมัครเสร็จแล้ว
สมัครฟรี >>>Neobux<<<

Flag Counter

วิธีทำเงินจาก NeoBux เขียนโดย Wirote


Neobux คืออะไร ?
   Neobux เป็นเว็บ Social Network คล้ายๆ Hi5 และ Facebook แต่ Neobux เปิดขึ้นมาเพื่อให้ผู้ลงโฆษณา (Advertisers) กับผู้ชมโฆษณา (Consumers) ได้มาเจอกัน แต่เราไม่ต้องซื้อสินค้าใดๆ เพียงแค่คลิกชมโฆษณาเท่านั้น พูดง่ายๆก็คือ Neobux เป็นเว็บที่ จ้างให้เราคลิกชมโฆษณาของผู้ที่มาลงโฆษณานั่นเองครับ ซึ่ง Neobux ได้ครองความนิยมอันดับ 1 ในโลกครับ ปัจจุบันมีสมาชิกจากทั่วโลกมากกว่า 3 ล้านคน ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า 






   Neobux จ่าย เงิบแบบทันที (Instant)ทุกครั้ง คือเมื่อเราทำเงินถึงยอดขั้นต่ำ $2 ในการเบิกเงิน เมื่อกดเบิก เราก็จะได้รับเงินเข้า Paypal ของเราทันที
มีระบบความปลอดภัยสูง ผ่านการทดสอบและรับรอง โดย McAfee Secureโดยการป้องกันจากการแฮกข้อมูลทุกรูปแบบ ทั้งด้านในการรับและการส่งเงิน
ที่สำคัญที่สุด คือจ่ายจริงมาตลอด และ เปิดมานานกว่า 3 ปีแล้ว (เว็บอื่นเปิดมาไม่ถึงปีก็ปิด หรือเปิดมาเพื่อหลอกเอาเงินครับ)
ทั้งนี้จะมีผู้จ่ายค่าลงโฆษณาให้กับ Neobux เพื่อให้สมาชิกของ Neobux จากทั่วทุกมุมโลกคลิกชมโฆษณา ซึ่งในการคลิกชมแต่ละครั้งเขาจะให้ค่าตอบแทนเราเป็นเงินดอลล่านั่นเองครับ
บริการของ Neobux ประกอบด้วยการให้ผู้โฆษณาเข้าถึงลูกค้านับพันโดยการแสดงโฆษณาในเว็บไซต์ และผู้ใช้ของเราเพื่อหาราย ได้โดยการดูโฆษณาของผู้โฆษณา ที่ Neobuxจัด ไว้ให้ผู้ใช้คลิกที่โฆษณาของผู้โฆษณาและดูในช่วงระยะเวลาที่กำหนดโดยผู้ โฆษณา หลังจากดูโฆษณาผู้ใช้จะได้รับการบันทึกเครดิต และ กำหนดจำนวนเงินลงในบัญชีของสมาชิค Neobux คุณไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินให้ Neobux เพื่อเริ่มหารายได้.ดังนั้นขณะที่คุณเป็นผู้ใช้ที่ ลงทะเบียนกับ Neobux คุณก็สามารถที่จะเริ่มต้นรับรายได้ฟรี 




สมัครฟรี Neobux
 
Flag Counter

Sunday, February 8, 2015

สงสัยตัวเองเป็นมะเร็งของเยื่อบุผนังโพรงมดลูก?

   ฉันอายุ 32 ปี อาชีพเป็นพยาบาลในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินของ รพ.แห่งหนึ่ง แต่งงานแล้ว มีบุตรสาว 1 คน อายุ จะครบ 4 ปี ในปี 2558 นี้ ฉันไม่เคยคุมกำเนิดเลยเพราะตั้งใจจะเอาบุตร 3 คน โดยปกติก่อนแต่งงาน ฉันจะมีประจำเดือนมา 3-4 เดือน/ครั้ง และจะมามาก มีอาการปวดท้องน้อยประจำ แต่ปวดไม่มาก หลังจากแต่งงาน ฉันไม่เคยคุมกำเนิด ปล่อยตามธรรมชาติ ฉันแข็งแรงดี สามีก็เป็นคนแข็งแรง ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ใช้เวลา 2 ปี หลังแต่งงานถึงมีบุตรคนแรก จนถึงปัจจุบันบุตรอายุ 4 ปีแล้วก็ยังไม่ได้น้องคนที่ 2 ฉันจึงปรึกษาหมอเฉพาะทางสูติกรรม ได้ยากระตุ้นฮอร์โมนการตกไข่ ฉันรับประทานยาไปประมาณ 7 วัน จากนั้น แพทย์นัด Ultrasound พบไข่ตก สมบูรณ์ดี ผนังมดลูกหนาตัว จากนั้นก็ปฏิบัติการเพื่อที่จะให้ไข่และอสุจิได้พบกันตามธรรมชาติ 2-3 วันหลังไข่ตก จากนั้นประมาณ 4 สัปดาห์ ประจำเดือนของฉันก็ยังไม่มา(โดยปกติก็มาไม่ทุกเดือน) ฉันตั้งหน้าตั้งตารอเพื่อตรวจปัสสาวะ ได้แผ่นตรวจมาจาก รพ.บ้าง รพ.สต.บ้าง ผลตรวจก็ UPT negative ไม่ตั้งครรภ์ จากนั้น 2 เดือนต่อมา ก็มาปรึกษาหมอคนเดิม หมอก็ให้ยาชุดเดิมมารับประทาน ก็ได้ผลเช่นเดิม ไม่ตั้งครรภ์ ฉันเริ่มถอดใจ แม้ว่าร่างกายปัจจุบันนี้ ฉันน้ำหนัก 75 กก. ก่อนแต่งงาน 58 กก.(หุ่นดีสวยเชียวแหละ) หลังจากคลอดบุตรคนแรกน้ำหนักก็ขึ้นตลอดฉุดไม่อยู่ หลังจากรับประทานยาชุดที่ 2 จนหมด ยา Ova-mit  1 เดือนต่อมา ประจำเดือนก็ไม่มา 2 เดือนก็ไม่มา 3 เดือนก็ไม่มา 4 เดือนก็ไม่มา ฉันตรวจ UPT ผลก็ negative คิดว่าตัวเองท้อง เพราะเต้านมคัดตึง ปวดเต้านมมาก แต่ sign อย่างอื่น ไม่มี 3 วันต่อมาประจำเดือนกลับมาและมามาก นานถึง 9 วัน (ปกติประจำเดือนจะมานาน 3-4 วัน) เริ่มไม่สบายใจฉันจึง ให้คุณหมอผู้หญิงเฉพาะทางสูติฯ ตรวจภายใน หมอตรวจภายในและ Per Vagina (PV) ปรากฎว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดมาก(hypermenorrhea คือ ประจำเดือนมาก) เป็นลิ่มๆ มิน่า ฉันถึงรู้สึกเหนื่อยมาก เหมือนร่างกายเสียเลือดมาก และ Ultrasound ดู พบว่าผนังเยื่อบุโพรงมดลูกหนามาก ประมาณ 1.5 ซม.(คนปกติ 0.5-0.7 ซม.) หมอบอกฉันว่า ผนังเยื่อบุโพรงมดลูกของฉันไม่มีการลอกตัวตามปกติ สังเกตจากประจำเดือนไม่มาทุกเดือน จึงมีการหนาตัวขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นต้องได้รับการขูดมดลูก (Dilatation and curettage) วันต่อมาหมอนัด set OR(Operating room) เตรียมเข้าห้องผ่าตัด ทำการขูดมดลูก ฉันเลือกวิธีไม่ดมยาสลบ เพราะกลัว หมอใช้วิธีฉีดยาระงับความเจ็บปวด(Pethidine 25 mg) ทางหลอดเลือดดำ หลังขูดเสร็จ หมอได้นำชิ้นเนื้อส่งตรวจ ด้วย ฉันเองใจก็ตุ้มๆต่อมๆ เพราะกลัวตนเองเป็นมะเร็ง และรอผลตรวจชิ้นเนื้อ 7 วัน และได้ยา antibiotic มารับประทาน Cephalexin 500 mg. รับประทาน ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน ช่วงรอ เป็นช่วงที่เครียดมากที่สุด คิดมากที่สุด ถ้าฉันป่วยเป็นมะเร็ง จะทำอย่างไร คงไม่มีโอกาสมีบุตร ต้องตัดมดลูกทิ้ง หรือ แล้วความสัมพันธ์กับสามีจะเป็นอย่างไร คิดไม่ตก ร้องไห้ จากนั้นผลตรวจ ก็เป็นไปตามเวรตามกรรม หรือสิ่งดีๆที่เคยทำมา จะช่วยหนุนนำให้ผลตรวจออกมาในแง่ดี ตามนี้เลยค่ะ


สรุป  ผล ปกติ ค่ะ ไม่เป็นมะเร็งค่ะ  ดีใจสุด...สุดๆคะ
แต่ดีใจได้ไม่ถึง 2 เดือน ฉันก็เริ่มมีประจำเดือนมามากและนานผิดปกติอีกค่ะ ครั้งนี้ฉันไม่ได้กินยากระตุ้นอะไร แต่คุณหมอให้ฉีดยาคุมกำเนิด DMPA 150 mg เดือนละครั้งเพื่อปรับฮอร์โมน ฉีดได้ 2 เข็ม ประจำเดือนมาเดือนที่ 2 มามาก นาน 9 วัน ฉันจึงไปพบหมอคนเดิม พอดีอยู่ รพ.เดียวกันกับที่ทำงานค่ะ หมอแนะนำดีมาก และมีความเป็นกันเอง จึงทำ ultrasound อีกครั้ง พบว่า ผนังเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวมากค่ะ เกือบ 3 ซม. ฉันกังวลใจมาก แค่ 2 เดือนทำไมมันหนาตัวขึ้นมาก มีประจำเดือนไหลไม่หยุด หมอบอกว่าต้องขูดมดลูกอีกครั้ง ฉันยิ่งกลัวมากขึ้น กลัวเป็นเนื้อร้ายมันเจริญเร็วมาก  แต่เรื่องขูดไม่กลัวค่ะ มีเพื่อนๆร่วมงานแนะนำไปตรวจที่คลินิกหมอสูติ เพื่อความแน่ใจอีกครั้งว่าเป็นอะไรกันแน่ มีหมอที่เก่งๆหลายคน ฉันจึงตกลงไปหาหมอท่านอื่นที่คลินิกในเมือง ไปกับลูกและสามี จิตใจก็ห่อเหี่ยวกังวลใจมาก พรางตั้งคำถามกับสามีถ้าฉันเป็นอะไรไป เธอดูแลลูกด้วยนะ สามีก็ให้กำลังใจตลอดว่าอย่ากังวลอะไรมาก คงเป็นกับฮอร์โมนมากกว่า เมื่อถึงคลินิก นั่งรอหมอสักพัก ผู้ช่วยซักประวัติ วัดความดันเรียบร้อย เข้าพบหมอ หมอให้เตรียมเปลี่ยนเป็นผ้าถุง เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจ และ ultrasound เครื่องอัลตราซาวน์ที่นี่ชัดเจนมาก ขณะตรวจหมอก็อธิบายไปด้วยว่า ผนังเยื่อบุมดลูกหนามากและมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งสูง ครั้งแรกที่ตรวจอาจจะเป็นก้อนเลือดหรือลิ่มเลือดเยอะ เลยตรวจไม่พบก็เป็นไปได้ จึงแนะนำให้ฉันไปขูดมดลูกและคอนเฟิร์มชิ้นเนื้อส่งตรวจอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 2 ฉันจึงปรึกษากับสามีและจะตรวจอีกครั้ง วันต่อมาจึงกลับมา รพ.เดิมและหมอสูติคนเดิมเพื่อเตรียมเข้าห้องผ่าตัดเพื่อขูดมดลูกและส่งชิ้นเนื้อส่งตรวจอีกครั้ง ครั้งนี้ฉันให้หมอฉีด Pethidine 25 mg. ทางหลอดเลือดดำเช่นเคย แต่การทำหัตถการครั้งนี้ฉันรู้สึกเจ็บปวดมากกว่าครั้งแรก  ฉันนอนพักรักษาตัวที่ รพ.นานมากกว่า 5 วัน และหมอให้พักต่ออีก 5 วัน ก่อนกลับมาทำงาน และช่วงนี้ฉันต้องรอฟังผลชิ้นเนื้ออีก ใจฉันกังวลมากกว่าครั้งแรก กลัวทุกอย่างโดยเฉพาะเนื้อร้าย และแล้วผลตรวจก็ออก อนิจจา......


ผล ปกติค่ะ ฉันดีใจมาก เกิดจากผลของฮอร์โมนในร่างกาย หมอแนะนำให้ลดอาหารไขมัน ของทอด เนื้อสัตว์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ฉันโล่งใจเหมือนยกภูเขาออกจากอก ขอบคุณทุกท่าน คุณหมอ พ่อแม่ ครอบครัว เพื่อนที่ให้กำลังใจ จนฉันสามารถผ่านอุปสรรคมาได้
ในความคิดของฉัน คิดว่าสิ่งที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยในครั้งนี้น่าจะเริ่มจาก การรับประทานยากระตุ้นการตกไข่ การรับประทานเนื้อย่างเกือบทุกสัปดาห์ การฉีดยาคุม ความเครียด ทำให้เกิด โรคผนังเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวมากผิดปกติ (Endometrial hyperplasia)


Flag Counter

Sunday, January 25, 2015

Continuous Quality Improvement (CQI) การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง



การพัฒนารูปแบบการให้บริการในคลินิกโรคเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมและการรับบริการอย่างต่อเนื่อง
บทคัดย่อ ( Abtract )
               ระเทศไทยได้พัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี โดยมีการ กระจายไปสู่ระดับตำบลทั่วประเทศและมีโรงพยาบาลชุมชน เกือบทุกอำเภอ ทั้งนี้ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ความต้องการบริการสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนและโครงสร้างของประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นส่งผลต่อรอบระยะเวลา การรอคอยรับบริการในโรงพยาบาลมากขึ้นด้วย ซึ่งระดับ CUP โรงพยาบาลรัตนบุรีเองมีระยะเวลาการรอคอยรับบริการมากกว่า 4 ชั่วโมง ทำให้ผู้มารับบริการรอนาน มีความแออัด ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยบางรายไม่อยากมารับบริการ ทำให้ขาดยา ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ จึงมีการเพิ่มเครือข่ายบริการสุขภาพสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และมีการจัดบริการเชิงรุกเพื่อ ส่งเสริมสุขภาพโดยมีการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงและเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนควบคู่กับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้มีความทันสมัยและลดภาระการติดตามแก่ผู้ให้บริการ การให้บริการในเชิงรุก เป็นการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการพึ่งตนเองของประชาชน และการมีส่วนร่วมในการจัดการกับสภาวะสุขภาพของตนเอง บุคคลในครอบครัวและของชุมชน ตามชุดสิทธิประโยชน์ที่ประชาชนทุกคนควรจะได้รับขั้นพื้นฐาน 
          การจัดบริการส่งเสริมสุขภาพ  โดยการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานจัดกิจกรรมการให้บริการในวันคลินิกโรคเรื้อรังร่วมกับการดูแลแบบองค์รวมทั้งจากรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยการประชุมกลุ่มระหว่างผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ดูแล ทีม อสม.ร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซาตโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผสมผสานในการนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อมาตรวจตามนัด  ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม ลดปัญหาในการเดินทางสำหรับผู้สูงอายุเพื่อให้มารับยาอย่างต่อเนื่อง การบริการเชิงรุกที่เข้าถึงทุกพื้นที่จากอสม.ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพและการจัดทำแผนผังชื่อผู้ป่วยที่ อสม.ต้องดูแลรับผิดชอบอย่างครอบคลุม ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความต้องการมารับยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้านเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังดูแลตนเองมากยิ่งขึ้นสำหรับกลุ่มที่ยังรับยาในโรงพยาบาลชุมชนเพราะต้องการมารับยาใกล้บ้านสำหรับกลุ่มที่ควบคุมโรคได้ดี โดยประชากรผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตรับผิดชอบ ระหว่างตุลาคม 2554-เมษายน 2556 ที่มารับยาในเครือข่ายปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซาต จำนวน 57 ราย คิดเป็นร้อยละ 44.18 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทั้งหมด พบว่า หลังดำเนินการตามรูปแบบ ผู้ป่วยมีอัตราการเข้ารับบริการเพิ่มขึ้น การมารับยาตามนัดเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยเรื้อรังเห็นความสำคัญและพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการบริการ โดยยึดปัญหาผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง แล้วกำหนดแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ อสม. ผู้ป่วย และผู้ดูแล อีกทั้ง อสม.มีทักษะในการทำงานเพิ่มขึ้น ชุมชนให้ความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน มีการนัดตรวจเดือนละ 1 ครั้ง ประเมินภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามเกณฑ์มาตรฐาน  และการเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องโดยทีมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาตและอาสาสมัครสาธารณสุข


คำสำคัญ 
 - การพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน หมายถึง วิธีการกระบวนการใหม่ที่ทำให้ระบบการทำงานดีขึ้นมากกว่าเดิม
 - ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หมายถึง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือ เบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูงที่รพ.รัตนบุรี ส่งต่อมารับยาที่ รพ.สต.
 - การรับบริการอย่างต่อเนื่อง หมายถึง การมารับยาตามนัด ไม่ขาดยาของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
 - ศักยภาพ อสม.  หมายถึง อสม.มีทักษะในการทำงานเพิ่มมากขึ้น            
  บทนำ ( Introduction )
                        สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย จากข้อมูลสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีอัตราผู้ป่วยในต่อแสนประชากรในภาพรวมของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดทุกปี  ซึ่งรายงานว่าอัตราผู้ป่วยในต่อแสนประชากร ช่วงปี 2540 -2550 ป่วยด้วยโรคเบาหวานจาก 148.7  เป็น 654 และมีแนวโน้มอัตราตายต่อแสนประชากรเพิ่มขึ้นช่วงปี 2541-2550 คือ โรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า   งัว6 เป็น 20.8 ยกเว้นค่ารักษาโรคแต่ละโรคตั้งแต่ 10,000-100,000 บาทต่อคนต่อปี   นับว่าเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่าในปี 2548 ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคเรื้อรัง 35 ล้านคน หรือร้อยละ 60 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด 58 ล้านคน และหากไม่เร่งแก้ไข คาดว่าในปี 2558 จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 หรือประมาณ 41 ล้านคน 
                     ประเทศไทยได้พัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี โดยมี การกระจายไปสู่ระดับตำบลทั่วประเทศและมีโรงพยาบาลชุมชน เกือบทุกอำเภอ ทั้งนี้ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ความต้องการบริการสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนและโครงสร้างของประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อรอบระยะเวลาการรอคอยรับบริการในโรงพยาบาลมากขึ้นด้วย ซึ่งระดับ CUP โรงพยาบาลรัตนบุรีเองมีระยะเวลาการรอคอยรับบริการมากกว่า 4 ชั่วโมง ทำให้ผู้มารับบริการรอนาน มีความแออัด ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยบางรายไม่อยากมารับบริการ ทำให้ขาดยา ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ จึงมีการเพิ่มเครือข่ายบริการสุขภาพสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และมีการจัดบริการเชิงรุกเพื่อ ส่งเสริมสุขภาพโดยมีการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงและเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนควบคู่กับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้มีความทันสมัยและลดภาระการติดตามแก่ผู้ให้บริการ การให้บริการเชิงรุก เป็นการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการพึ่งตนเองของประชาชน และการมีส่วนร่วมในการจัดการกับสภาวะสุขภาพของตนเอง บุคคลในครอบครัวและของชุมชน ตามชุดสิทธิประโยชน์ที่ประชาชนทุกคนควรจะได้รับขั้นพื้นฐาน
                      การจัดบริการส่งเสริมสุขภาพ  โดยการจัดบริการการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในคลินิกบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซาต เป็นการจัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ที่เน้นการดูแลผู้รับบริการ( ผู้ป่วยเรื้อรัง) และครอบครัวอย่างเป็นองค์รวมและต่อเนื่อง เพื่อทำความรู้จักและเข้าใจสภาพปัญหา วิถีชีวิตของผู้รับบริการและครอบครัว นอกจากนี้ยังมีการจัดบริการการดูแลสุขภาพต่อเนื่องที่บ้าน (Home Ward - Home  Care)  ทำให้ผู้ป่วยมีความอบอุ่นที่ได้อยู่กับครอบครัว   ลดภาระและความวิตกกังวลของครอบครัวสามารถดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาล  ทำให้ผู้รับบริการมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น
                    สถานีอนามัยบ้านซาตได้รับการยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในปี 2553 ซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีจุดเน้นที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การให้บริการเชิงรุกด้านการรักษาพยาบาล การปฏิบัติงานจะเน้นการสร้างความร่วมมือกับชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชน ในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง  โดยการจัดระบบการรับส่ง การจัดบริการด้านอาหาร การติดตามและแจ้งเตือนผู้ป่วยเพื่อมารับบริการตามนัด การกำกับดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยทีม อสม. ลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว  ลดภาระและความวิตกกังวลของครอบครัวในดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาล  ทำให้ผู้รับบริการมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น รวมทั้งลดภาระทั้งของครอบครัว และสถานบริการในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวอีกทางหนึ่งด้วย
                    
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาปัญหาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง
2.เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างเหมาะสม
3.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมารับบริการอย่างต่อเนื่อง
4.เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขให้สามารถดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านได้

ระเบียบวิธีการวิจัย
 เป็นการวิจัยแบบปฏิบัติการ( Action Research ) โดยการกำหนดรูปแบบดังนี้
1. การกำหนดปัญหาในการปฏิบัติงาน
2. การแสวงหาลู่ทางในการแก้ปัญหา
3. การใช้วิธีการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหา
4. การบันทึกรายละเอียดผลการปฏิบัติงาน
5. การสรุปและเสนอผลการแก้ปัญหา
    ด้วยการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานและการจัดกิจกรรมในวันคลินิกโรคเรื้อรังโดยการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติ ชุมชน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อสม.ร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซาต ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองจัดกิจกรรมในการให้บริการในคลินิกโรคเรื้อรัง และให้บริการระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2556  – 31 มีนาคม 2556

กลุ่มเป้าหมาย
            ประชากร คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ) ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซาต

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. สมุดคู่มือประจำตัวผู้ป่วยประเมินความต่อเนื่องในการรับบริการและผลการรักษา
2. ทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
3. แบบสอบถาม
4. แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการดำเนินงานการให้บริการในคลินิกโรคเรื้อรัง
   
ขั้นตอนการดำเนินงาน
 มี  4  ขั้นตอน
1.      การวางแผนในการแก้ปัญหา( Planning)
                   ประชุมเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังเพื่อร่วมศึกษาปัญหาและวิเคราะห์ข้อมูลการเข้าถึงการรับบริการของผู้ป่วยเรื้อรังในหน่วยบริการที่รับผิดชอบ วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่มีผลต่อการมารับยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
   จากข้อมูลการตอบแบบสอบถามของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทั้งหมด 20 คน จำแนกได้ดังนี้
 เป็นเพศชายทั้งหมด 4 คน (20 %) เพศหญิง 16 คน (80 %) อายุอยู่ในระหว่าง 48-91 ปี    ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 5 คน (25 %) ความดันโลหิตสูง 10 คน (50 %) เบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูง 5 คน (25 %)  ระยะทางจากบ้านถึง รพ.สต. ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 1-2 กิโลเมตร (60 %) และการเดินทางมารับยาส่วนใหญ่ญาติขับรถมาส่ง 16 คน (80 %) ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับยาน้อยกว่า 50 บาท (75 %) การรับประทานยาสม่ำเสมอ 19 คน (95 %) สาเหตุที่ทำให้รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ จากการลืมกินยา 8 คน (40 %) และสาเหตุที่มาไม่ตรงนัดส่วนใหญ่เกิดจากลืมวันนัด จำนวน 9 คน (45 %) มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เฉลี่ย 8 คะแนน (25 %) ดังตาราง
ตารางที่ 1
                                                                Statistics


ตารางที่ 2



ตารางที่ 3



ตารางที่ 4


ตารางที่ 5




ตารางที่ 6

ตารางที่ 7


ตารางที่ 8


ตารางที่ 9


ตารางที่ 10

ตารางที่ 11





จากตารางที่ 1- 11 สามารถวิเคราะห์ปัญหาและปัจจัยเสี่ยงที่เกิดกับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซาต ดังนี้
1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ เป็นผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 80 ส่งผลให้การเดินทางมารับยาต้องมีญาติขับรถมาส่ง ร้อยละ 80 แสดงถึงการเดิน การเคลื่อนไหวร่างกายค่อนข้างลำบากสำหรับผู้สูงอายุ
2.ส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 50 และเบาหวาน ร้อยละ 25
3.ระยะทางจากบ้านถึงรพ.สต. อยู่ระหว่าง 1-2 กม. คิดเป็นร้อยละ 60 และมากกว่า 5 กม. คิดเป็นร้อยละ 10
4.สาเหตุที่รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ จากลืมกินยา คิดเป็นร้อยละ 40  รองลงมาคือ ยาหมดก่อนนัด คิดเป็นร้อยละ 5
5.สาเหตุที่มาไม่ตรงวันนัด จากลืมวันนัด คิดเป็นร้อยละ 45 รองลงมา คือ ไม่มีญาตินำส่ง คิดเป็นร้อยละ 15

2.      การปฏิบัติ ( Do )
                    โดยการออกแบบกิจกรรมในการดำเนินงานการพัฒนารูปแบบการให้บริการโดยจัดรูปแบบกิจกรรมในการให้บริการสอดคล้องกับปัญหา ดังนี้
                   ด้านการสนับสนุน
-          บริการรถมาตามนัดรับ ส่ง
-          บริการอาหารเพื่อสุขภาพ
-          บริการแจ้งเตือนวันนัดหรือติดตามเมื่อไม่มาตามนัดผ่าน SMS
-          บริการติดตามเยี่ยมโดยเจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม.
-          ความพึงพอใจของผู้ป่วยเรื้อรัง/ญาติ และเจ้าหน้าที่ อสม.
                   ด้านการให้บริการ
                         1. แพทย์      : ให้บริการตรวจรักษาตามกลุ่มโรค consult เมื่อผู้ป่วยมีภาวะผิดปกติ ทางโทรศัพท์ teleconference หรือเมื่อผู้ป่วยได้รับการส่งต่อตามแบบ บสต.8
                         2. พยาบาล : ตรวจประเมินอาการ เจาะเลือด ภาวะแทรกซ้อน/จ่ายยา คีย์ยาก่อนถึงวันนัดที่รพ.รัตนบุรี ให้สุขศึกษา
                         3. เภสัชกร  : จัดยา, check ยา, จ่ายยาก่อนกลับบ้าน
                         4 เจ้าพนักงานสาธารณสุข : เจาะเลือด/ตรวจร่างกาย
                         5.พนักงานผู้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย     :  คัดกรองผู้ป่วย คีย์ข้อมูลให้บริการ
                         6.เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล : ซักประวัติบันทึกข้อมูล  ติดตามผู้ป่วยมารับยาตามนัดระบบ SMS
                         7.ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย : พาผู้ป่วยออกกำลังกาย /ให้บริการด้านแพทย์แผนไทย
                         8.พนักงานขับรถ : รับส่งผู้ป่วยไปกลับ
                         9.อสม. : จัดทำอาหารตามเมนู /ค้น family folder /คัดกรองผู้ป่วย

                    ด้านงบประมาณสนับสนุนกิจกรรม:ประชุมคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซาต ในการจัดสรรงบประมาณและทำประชาคมระดมเงินจากเงินบำรุง รพ.สต. กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ระเวียง ผู้มีจิตศรัทธา พร้อมทั้งชี้แจงแนวทางการดำเนินการในวันคลินิกโรคเรื้อรัง งบประมาณที่ใช้จ่าย ค่าจ้างเหมารถรับส่ง (รถยนต์,รถจักรยานยนต์พ่วง)  700 บาท/เดือน
      ค่าอาหารสำหรับผู้ป่วย                                   500 บาท/เดือน
      ค่าข้อความแจ้งเตือนก่อนวันนัด                        535 บาท/เดือน
      รวมทั้งสิ้น                                                 1,735 บาท/เดือน

            
  ขั้นดำเนินการ
                     ขั้นเตรียม
                     1. ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อจัดตารางเวรการปฏิบัติงานในสถานบริการเพื่อพัฒนาศักยภาพทักษะของ อสม. ในการคัดกรองสุขภาพ ซักประวัติ วัดความดันโลหิต ทำแผล การใช้เครื่องมือแพทย์ที่จำเป็น วันละ 2 คน โดยการกำกับดูแลจากพยาบาลวิชาชีพ




                     2. ชี้แจงรายชื่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ได้รับการส่งตัวมารับยาต่อเนื่องที่ รพ.สต.และระบุ อสม.ที่มีหน้าที่รับผิดชอบกำกับดูแลให้ชัดเจนพร้อมเบอร์โทรศัพท์ติดต่อทั้งของ อสม.และผู้ป่วย
                     3. ติดต่อซื้อโปรแกรม ส่ง SMS (Thaibulksmshttps://frontend.thaibulksms.com/ พร้อมทั้งตั้งค่า Login และเบอร์ติดต่อของ อสม. และผู้ป่วยหรือญาติในระบบ ต้องมีการเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต หรือติดตั้ง app store ผ่านมือถือ ส่งข้อความแจ้งเตือน อสม.และผู้ป่วยก่อนวันนัดรับยา 1 วัน ตั้งเวลาส่งเพื่อให้ระบบส่งตามเวลาที่กำหนดได้



                   


  
 4. ผู้นำชุมชนหรืออสม.ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของแต่ละหมู่บ้านหลังจากได้รับข้อความเพื่อกำหนดจุดที่รถบริการมาตามนัดจะไปรับพร้อมรายชื่อผู้ป่วยที่จะไปรับ ใน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านปลาเดิด บ้านก้านเหลือง บ้านหนองหว้า ระยะทางไปกลับประมาณ 12 กิโลเมตร ส่วนอีก 2 หมู่บ้าน บ้านซาตหมู่ 3 และ 10 ระยะทางใกล้ 1-2 กิโลเมตร ใช้จักรยานยนต์พ่วงข้างรับส่ง โดยสอบถามความสมัครใจของผู้ป่วย โดยมีตารางการให้บริการเดือนละ 1 ครั้ง และถ่ายเอกสารแผนวันนัดล่วงหน้าแก่ อสม.ให้รับทราบด้วย





          5.จัดเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : กำหนดเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยจ้างเหมา  อสม. ทำอาหารเดือนละ 1 ครั้งเพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วย



3.      การตรวจสอบผลการดำเนินงาน(Check )
     ขั้นประเมินผล
ตารางที่ 12 เปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างรูปแบบใหม่และรูปแบบเก่า เชิงเนื้อหา(ด้านกิจกรรม)

การจัดกิจกรรม
การดำเนินงานโดยใช้รูปแบบเดิมในปีที่ผ่านมา
การดำเนินการโดยการพัฒนารูปแบบในปีปัจจุบัน
ผลลัพธ์
1.การเข้ารับบริการโดยแพทย์หรือพยาบาลเวชปฏิบัติตรวจรักษา
ผู้ป่วยเรื้อรังไปรับยาที่
โรงพยาบาลรัตนบุรี
หน่วยบริการปฐมภูมิ (รพ.สต.บ้านซาต)

ผู้ป่วยเรื้อรังมารับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซาต
พยาบาลวิชาชีพ ไปคีย์และรับยา
ที่รพ.รัตนบุรีเดือนละ 1 ครั้ง
ผู้ป่วยมารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 92
2.มีรถรับส่ง
ผู้ป่วยเรื้อรังไปรับยา
โดยเดินทางไปเองหรือญาติไปส่งที่โรงพยาบาลรัตนบุรี
มีรถรับส่งผู้ป่วยเรื้อรังมารับยา
ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาตทั้งไปและกลับ
ลดค่าใช้จ่าย และภาระในการดูแลของครอบครัว มาตามนัด
3.มีอาหารบริการ

ไม่มีอาหารบริการซื้อรับประทานเอง หรือห่อจากบ้านไปรับประทาน
มีอาหารให้บริการตามเมนูสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง( ลด หวานมัน และเค็ม )
ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและเหมาะสมตามกลุ่มโรค ไม่มีโวยวายหรือบ่นหิวในกลุ่มที่งดน้ำ-อาหารมาเจาะเลือด

4.SMS แจ้งเตือนก่อนวันนัด/วันที่ไม่มารับยา
แจ้งที่สมุดบันทึกโรคประจำตัวหรือบัตรนัด
แจ้งผ่าน SMS ออนไลน์ถึงมือถือผู้ป่วยหรือผู้ดูแล สามารถตั้งเวลาแจ้งเตือน,อสม.ติดตามหลังจากได้รับSMS ร่วมด้วย
มาตามนัดเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 98.24 จากเดิมร้อยละ 55 ไม่ลืมวันนัด
5.พัฒนาศักยภาพ อสม.ก่อนลงเยี่ยมบ้าน
อสม.ลงเยี่ยมบ้านขาดทักษะในการให้บริการด้านสุขภาพ
อสม.ฝึกทักษะในสถานบริการก่อนปฏิบัติงานจริง มีทักษะลงเยี่ยมบ้านพร้อมกับเจ้าหน้าที่
อสม.มีความเชี่ยวชาญ ผู้ป่วยพึงพอใจ  การดูแลเข้าถึงทุกพื้นที่ ทดแทนบุคลากร
6.มีทีมดูแล
มีญาติเท่านั้น
มีญาติ/ชุมชน/อสม./อปท.
ทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซาตมีการให้สุขศึกษา
ผู้ป่วยมีความอบอุ่นและไว้วางใจในการให้บริการในวันคลินิกโรคเรื้อรัง
                 
                             4.   ปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา(Action ) 
                              คือการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหาหรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จเพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไปเมื่อได้แผนงาน (P) นำไปปฏิบัติ (D) ระหว่างปฏิบัติก็ดำเนินการตรวจสอบ(C) พบปัญหาก็ทำการแก้ไขหรือปรับปรุง (A) การปรับปรุงก็เริ่มจากการวางแผนก่อน วนไปเรื่อยๆ จึงเรียกวงจร PDCA
                  
การวิเคราะห์ข้อมูล
                        1. เชิงคุณภาพ  ได้แก่ บันทึกการสังเกตจากการเยี่ยมบ้าน  ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อความ
      2. เชิงปริมาณ ได้แก่ อัตราการเข้ารับบริการ ใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าแจกแจงความถี่, ร้อยละ

ผลการวิจัย
1.การขาดนัดของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการให้บริการจากเดิม ร้อยละ 7.01 ลดเป็น ร้อยละ 1.78
2.ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 3.5
3.ระบบการให้บริการผู้ป่วยเรื้อรังในสถานบริการสามารถดำเนินการได้โดยทีมสหวิชาชีพและการมีส่วนร่วมของชุมชนทำให้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีมาตรฐานสามารถปรับใช้ในเครือข่ายหน่วยบริการอื่นได้
4.ในผู้ป่วยเบาหวานระดับ HbA1c < 7 เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 83.33 เป็น ร้อยละ 91.66
5.ผู้ป่วยเรื้อรัง ญาติ ผู้ให้บริการ ชุมชน มีความพึงพอใจในระบบการให้บริการผู้ป่วยเรื้อรังในสถานบริการคิดเป็น ร้อยละ98
6.อสม.ได้รับการพัฒนาตนเองและความรู้อยู่เสมอ
7.ผู้ป่วยเดินทางมารับบริการได้สะดวก ลดภาระของบุคคลในครอบครัว
8.ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรค รสจืด

ผลการดำเนินงาน
     จากรูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานจัดกิจกรรมการให้บริการในวันคลินิกโรคเรื้อรังร่วมกับการดูแลแบบองค์รวมทั้งจากรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยการประชุมกลุ่มระหว่างผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ดูแล ทีม อสม.ร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซาตโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผสมผสานในการนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อการมาตรวจตามนัด  ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมลดปัญหาในการเดินทางสำหรับผู้สูงอายุเพื่อให้มารับยาอย่างต่อเนื่อง การบริการเชิงรุกที่เข้าถึงทุกพื้นที่จากอสม.ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพและการระบุชื่อผู้ป่วยที่ต้องดูแลรับผิดชอบอย่างครอบคลุม ทำให้ความต้องการมารับยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้านเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังดูแลตนเองมากยิ่งขึ้นสำหรับกลุ่มที่ยังรับยาในโรงพยาบาลชุมชนเพราะต้องการมารับยาใกล้บ้านสำหรับกลุ่มที่ควบคุมโรคได้ดี ประชากรผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ระหว่างตุลาคม 2554-เมษายน 2556 ที่มารับยาในเครือข่ายปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซาต จำนวน 57 ราย คิดเป็นร้อยละ 44.18 จากผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด พบว่า หลังดำเนินการตามรูปแบบ ผู้ป่วยมีอัตราการเข้ารับบริการและมาตามนัด เนื่องจากผู้ป่วยเรื้อรังเห็นความสำคัญและพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการบริการโดยยึดปัญหาผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางแล้วกำหนดแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย และผู้ดูแล มีการนัดตรวจเดือนละ 1 ครั้ง และการเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องโดยเจ้าหน้าที่พร้อมด้วย อสม.
                    ปัจจุบันผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่รับผิดชอบจำนวนทั้งหมด 129 ราย แยกเป็น เบาหวาน 39 ราย ความดันโลหิตสูง 71 ราย และเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูง 19 ราย โดย รพ.รัตนบุรี ส่งมารับยาที่รพ.สต.บ้านซาต 57 ราย ตั้งแต่ปี 2554- เมษายน 2556 รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 13
ตารางที่ 13 จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยเรื้อรังในการเข้ารับบริการ( เชิงปริมาณ) 


จากตาราง พบว่า จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อมารับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ตั้งแต่ ปี 2554 - 2556 คิดเป็น ร้อยละ 30.47 ,51.85 และ 44.18 ตามลำดับ เพื่อเป็นการลดความแออัด และลดระยะรอคอยรับบริการที่นานเกินไปเมื่อไปรับยาที่ รพ.ชุมชน แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนหลายระบบบางรายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ จึงมีการส่งกลับผู้ป่วยไปรับยาที่ รพ.รัตนบุรีเหมือนเดิมเพื่อติดตามอาการอย่างต่อเนื่องและพบแพทย์



ตาราง 3   ผลการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานในคลินิกบริการเฉพาะผู้ป่วยที่มารับยาที่ รพ.สต.บ้านซาต(เชิงคุณภาพ) ปีงบประมาณ 2556


ผลการดำเนินงานหลังการพัฒนารูปแบบการให้บริการในคลินิกผู้ป่วยโรคเรื้อรังแสดงได้ดังตาราง






อภิปรายผลการวิจัย ( Discusson )
          การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานจัดกิจกรรมการให้บริการในวันคลินิกโรคเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมและการมารับบริการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการค้นหาสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมารับบริการไม่ตรงนัด สาเหตุที่รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ เมื่อพบสาเหตุเกิดจากการลืมวันนัด หรือไม่มีผู้นำส่งเพราะส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ ร้อยละ 80 การเคลื่อนไหวร่างกายค่อนข้างลำบาก จึงค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาโดยนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารส่งข้อความไปยังมือถือเพื่อเตือนให้มารับบริการก่อนถึงวันนัด 1 วัน พร้อมจัดบริการรถรับส่งสำหรับหมู่บ้านที่อยู่ห่างจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ควบคู่กับการกำกับติดตามโดย อสม.ที่ได้รับการฝึกทักษะในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้การติดตามเยี่ยมบ้านและมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เป็นรูปแบบที่ดีเหมาะสมกับกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังทั้งนี้ เนื่องจากผู้ป่วยให้ความร่วมมือเห็นความสำคัญในการมารับบริการและรับยาตามนัด พร้อมทั้งได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการทุกปีรวมทั้งการประเมินภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยและเป็นการเฝ้าระวังภัยสุขภาพโดยการประเมินผลจากห้องปฏิบัติการและการเข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ ทำให้เป็นการดำเนินงานเป็นรูปธรรมชัดเจน และผู้ป่วยเรื้อรัง ได้รับคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นรายบุคคลโดยยึดปัญหาของผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง แล้วกำหนดแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย และผู้ดูแล อสม. มีการนัดตรวจเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมกับรับยาที่ได้รับการจัดตรวจเช็คจากเภสัชกรเพื่อลดความผิดพลาดด้านยาที่อาจเกิดขึ้น และยังมีบริการด้านอาหารที่เพิ่มความพึงพอใจแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้ามารับบริการ
           ดั้งนั้นการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการให้บริการผู้ป่วยเรื้อรัง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซาต  อำเภอโนนนารายณ์  จังหวัดสุรินทร์นั้น ดีกว่ารูปแบบการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยดูจากอัตราการเข้ารับบริการในวันคลินิกโรคเรื้อรัง(เชิงปริมาณ)  เชิงคุณภาพและจากการติดตามดูพฤติกรรม สุขภาพและค่าระดับพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามกิจกรรม ทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนจากการป่วยเป็นโรค ลดค่าใช้จ่าย  อีกทั้งการใช้ทรัพยากรบุคคล งบประมาณ ที่อยู่ในพื้นที่อย่างคุ้มค่าที่สุดส่งผลให้การดำเนินงานมีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
          1. สำหรับพื้นที่วิจัยคือผู้ป่วยเรื้อรังได้รับการบริการอย่างทั่วถึงและครอบคลุม
          2. ควรจัดงบประมาณในการดูแลด้านกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
          3.ควรจัดสรรบุคลากรที่สำคัญด้านสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยที่ชุมชนให้สามารถลงตรวจรักษาครบทุก รพ.สต. อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
          4.สำหรับสถานีอนามัยอื่น ๆ ที่ต้องการนำรูปที่พัฒนาแล้วไปประยุกต์ใช้ได้กับผู้ป่วย            ผู้ป่วยกลุ่มเรื้อรังและผู้ที่รับบริการที่ไม่สามารถมารับบริการได้ด้วยตนเองและขาดการดูแลจากชุมชนและญาติให้ได้รับการบริการอย่างทั่วถึงต่อไป
          5.ระบบการติดตามผู้ป่วยเพื่อให้มารับบริการอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งข้อความสามารถกำหนดช่วงเวลาส่งได้ ช่วยลดปัญหาภาระงานของเจ้าหน้าที่ได้ และสามารถประยุกต์ไปปรับใช้กับงานอื่นได้ เช่น การนัดเด็กมารับวัคซีน
          6.การแจ้งเตือนข้อความผ่านมือถือ หากผู้ป่วยไม่สามารถเปิดข้อความอ่านได้จากใช้เทคโนโลยีไม่เป็นหรือสายตาที่ไม่ชัดเจน ควรให้ผู้ดูแลช่วยเหลือหรือใช้วิธีส่งแบบข้อความเสียงและวนข้อความซ้ำ2-3 รอบสำหรับผู้สูงอายุโดยการตั้งค่าโทรศัพท์ของผู้ป่วยที่รองรับฟังก์ชั่นดังกล่าว
          7.ระบบ SMS บางเบอร์ไม่ได้รับข้อความ ติด Anti-spam แจ้งเจ้าของเบอร์ติดต่อ call center เปิดรับบริการข้อความประชาสัมพันธ์

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยต่อไป
              1.การทำวิจัยในเรื่องเดิมควรทำเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน                   เนื่องจากเป็นรูปแบบที่ดีสามารถดำเนินการได้จริงระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
              2.การทำวิจัยในเรื่องใหม่ ควร ประยุกต์แนวทางและวิธีการที่ได้ดำเนินการไปในการวิจัยครั้งนี้ขยายผลการวัดความสำเร็จให้ครอบคลุมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ขยายกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็ก 0-5 ปี ที่มารับวัคซีน เจาะลึกเกี่ยวกับวิธีการป้องกันการลืมกินยา เพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อความชัดเจนของผลการดำเนินงานต่อไป

กิตติกรรมประกาศ
          งานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีจากการแนะนำที่ถูกต้องและแก้ไขข้อบกพร่องขอขอบคุณคณะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรัตนบุรี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกท่านและอสม. ที่ให้กำลังใจและให้คำปรึกษาและให้การช่วยเหลือในการดำเนินการวิจัยเป็นอย่างดีมาตลอด และกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังทุกท่านที่ได้ให้ความร่วมมือและให้โอกาสและสนับสนุนในครั้งนี้

ระบบการติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อมารับยาตามนัดโดยย่อ
1.ลงทะเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อจาก รพ. ถ่ายเอกสารรายละเอียดจากสมุดประจำตัว
2.ขอเบอร์มือถือเพื่อติดต่อ
3.แจ้ง อสม.ที่ต้องกำกับดูแลรับผิดชอบ
4.ลงทะเบียนเบอร์ในระบบออนไลน์ https://frontend.thaibulksms.com/
 
 
5.ล็อกอิน
6.เพิ่มกลุ่มรายชื่อ ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง






7.ทดสอบระบบส่งข้อความ

8.ถ้า   ผ่าน     รอรับแจ้งเตือนข้อความก่อนวันนัดรับยาต่อไป
        ไม่ผ่าน   แจ้งผู้ป่วยขอเปิดใช้บริการรับข่าวสารประชาสัมพันธ์จากศูนย์ให้บริการโทรศัพท์แต่ละเครือข่าย และทดสอบระบบอีกครั้ง
   


Flag Counter