Saturday, February 1, 2014

เอดส์และเยาวชน

Community Development Project 

โครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ เอดส์กับเยาวชน

   ณโรงเรียนบ้านซาต(มงคลวิทยา),โรงเรียนประดู่แก้วประชาสรรค์ ______________________________________________________________________ 

โครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ เอดส์กับเยาวชนได้ออกดำเนินงานโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้  (1.)เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและคิดวิเคราะห์พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอช ไอ วี  (2.) เพื่อให้นักเรียนรู้จักการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอช ไอ วีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ (3.) เพื่อให้นักเรียนรู้จักการป้องกันการตั้งครรภ์เมื่อยังไม่พร้อม โดยเน้นให้รู้จักคิดวิเคราะห์พฤติกรรมที่เสี่ยงหรือไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ การใช้ถุงยางอนามัย  การป้องกันการตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม มีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ในโรงเรียน 2 แห่งในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาต และเหตุผลในการเลือกกลุ่มเป้าหมายอายุอยู่ระหว่าง 13 – 15 ปี เพราะเป็นวัยที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น มีความเป็นตัวของตัวเองสูง อยากเรียนรู้ด้วยตัวเอง เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายทุกระบบ ความคิดจะหมกมุ่น กังวลกับการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายของตน ส่งผลกระทบต่อจิตใจทำให้อารมณ์หงุดหงิดและแปรปรวนง่าย ค้นหาเอกลักษณ์ของตัวเอง พัฒนาความเป็นตัวของตัวเองและพยายามที่จะเอาชนะความรู้สึกแบบเด็กๆที่ผูกพัน ไม่อยากพึ่งพาพ่อแม่ กิจกรรมดำเนินงานประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการในโรงเรียน การให้ความรู้เรื่องพัฒนาการทางด้านร่างกายของวัยรุ่นชายและหญิง ผ่านโมเดลอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชายและหญิง ,การจัดโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อที่เข้าใจง่ายตรงไปตรงมา, กิจกรรมในห้องอบรม ได้แก่ กิจกรรมแลกน้ำ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจการแพร่ระบาดของเชื้อเอช ไอ วีทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นวงจรเดียวกันกับการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน รู้จักป้องกันตนเองหรือลดเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และประเมินโอกาสเสี่ยงของตนเองในการดำเนินชีวิต , กิจกรรมความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอช ไอ วี (QQR) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดและไม่ติดเชื้อ เอช ไอ วี ใช้หลัก QQR ประเมินความเสี่ยงของตนเองและเพื่อให้มีความมั่นใจในการอยู่กับผู้ติดเชื้อให้มากขึ้นไม่รังเกียจผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยเอดส์ ,กิจกรรมสาธิตการสวมถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง, กิจกรรมสอนเรื่องการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดปกติและยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ป้องกันการตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม, กิจกรรมคำถามคาใจ เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ซักถามปัญหาเรื่องเพศที่สงสัย กิจกรรมสรุปบทเรียน  ระยะเวลาดำเนินงานระหว่างวันที่ 17 – 18 ธันวาคม 2555 โดยได้รับการสนับสนุนเงินงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลระเวียง จำนวนเงิน 13,400 บาท (หนึ่งหมื่นสามพันสี่ร้อยบาทถ้วน) สรุปผลการจัดทำโครงการได้ดังนี้

การเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ
ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนรวมทั้งสิ้น 121 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ,2 และ 3 โรงเรียนบ้านซาต(มงคลวิทยา) 83 คน, และนักเรียนโรงเรียนประดู่แก้วประชาสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2 และ 4 จำนวน 38 คน และคณะวิทยากร ฯ จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระเวียง 1 คน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาต 5 คน และครูอนามัยโรงเรียนทั้ง 2 แห่งเข้าร่วมสังเกตการณ์ จำนวน 3 ท่าน คณะอสม. จำนวน 4 คน กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมฯทุกคน ทุกกิจกรรม จากการสังเกตพบว่ากลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี




สรุปความรู้ก่อนและหลังการอบรมของโรงเรียนบ้านซาต(มงคลวิทยา)
ระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ,2 และ 3 โรงเรียนบ้านซาต (มงคลวิทยา)ก่อนและหลังจัดทำโครงการ ฯ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนบ้านซาต (มงคลวิทยา) คะแนนก่อนและหลังการอบรมไม่มีความแตกต่างกัน ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) โดยมีความรู้ไม่แตกต่างกันจากก่อนการอบรม ดังตาราง
ตารางที่ 1
T-Test
 


ขั้นตอนที่ 1 พิจารณาว่าข้อมูล 2 กลุ่มมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
               Paired Samples Correlations เป็นส่วนแสดงค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
Correlation
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเปียร์สัน (r) ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของ 2 กลุ่มที่นำมาทดสอบ ค่าที่ได้ 0.457 แสดงว่าคะแนนก่อนและหลังการอบรม มีความสัมพันธ์กันค่อนข้างสูงและไปในทิศทางเดียวกัน
-1 ≤ r ≤ 1
บวก ทิศทางเดียวกัน
ลบ ทิศทางเดียวตรงข้าม
Sig.
ค่าความน่าจะเป็นที่จะใช้ในการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ภายใต้สมมติฐานทางสถิติ ดังนี้
H0 : คะแนนทดสอบก่อนและหลังการอบรมไม่มีความสัมพันธ์กัน
H1 : คะแนนทดสอบก่อนและหลังการอบรมมีความสัมพันธ์กัน
               ค่า Sig. เท่ากับ 0.002 มีค่าน้อยกว่าค่า α  ที่กำหนดคือ 0.05
                การตัดสินใจ   ปฏิเสธสมมติฐาน H0 ยอมรับ H1
               สรุปผลได้ว่า   คะแนนก่อนและหลังการอบรมมีความสัมพันธ์กันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05             
 ขั้นตอนที่ 2 ข้อมูล 2 กลุ่มมีความสัมพันธ์กัน
               Paired Samples Test แสดงค่าสถิติสำหรับใช้ในการทดสอบค่าเฉลี่ย
Mean
ค่าเฉลี่ยของผลต่างระหว่างคะแนนก่อนและหลังการอบรม
Std. Deviation
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลต่าง
Std. Error Mean
ค่าความคาดเคลื่อนมาตรฐานของผลต่าง
95% Confidence
ค่าที่แสดงขอบเขตช่วงความเชื่อมั่น 95% ของผลต่างค่าเฉลี่ย
t, df
ค่าสถิติที่คำนวณได้จะใช้เทียบกับค่าจากตารางมาตรฐาน
Sig.(2-tailed)
ค่าความน่าจะเป็นในการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐาน H0
               ค่า Sig.(2-tailed) เท่ากับ 0.568 มีค่ามากกว่าค่า α ที่กำหนดคือ 0.05
               การตัดสินใจ   ยอมรับสมมติฐาน H0 ปฏิเสธ H1
               สรุปผลได้ว่า   คะแนนก่อนและหลังการอบรมไม่มีความแตกต่างกัน ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ             (p > 0.05) โดยมีความรู้ไม่แตกต่างกันจากก่อนการอบรม ดังตารางข้างต้น

ตารางที่ 2  แสดงการเปรียบเทียบผลคะแนนการเรียนรู้ก่อนและหลังการอบรม
ผลรวมคะแนน
จำนวน
ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่า t
Sig.
ก่อน
หลัง
45
45
13.82
14.02
1.696
2.554
-0.575*
0.568
* P > 0.05จากการทดสอบ พบว่า ผลคะแนนรวมก่อนการเข้ารับการอบรมไม่แตกต่างกันกับผลคะแนนรวมหลังการอบรม ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 
ตารางที่ 3

จากตารางที่ 3  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านซาต(มงคลวิทยา)ที่ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมมีทั้งสิ้น 25 คน คิดเป็นร้อยละ 55.60 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนทั้งสิ้น 20 คน คิดเป็นร้อยละ 44.40

ตารางที่ 4


แผนภูมิที่ 1

จากแผนภูมิที่ 1   พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 โรงเรียนบ้านซาต(มงคลวิทยา) ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมโดยแยกเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 48.89 และเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 51.11
ตารางแสดงผลคะแนนก่อนการอบรมแยกรายข้อ

ข้อที่ 1
ข้อที่ 2
 

ข้อที่ 3

ข้อที่ 4
ข้อที่ 5

ข้อที่ 6


ข้อที่ 7


ข้อที่ 8

ข้อที่ 9

ข้อที่ 10


ข้อที่ 11

ข้อที่ 12


ข้อที่ 13

ข้อที่ 14

ข้อที่ 15

ข้อที่ 16

ข้อที่ 17
ข้อที่ 18

ข้อที่ 19

ข้อที่ 20
ข้อที่ 21

ข้อที่ 22

ข้อที่ 23

ข้อที่ 24

ข้อที่ 25

ตารางที่ 5 แสดงค่าต่ำสุด สูงสุดและคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการอบรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านซาต(มงคลวิทยา)


 จากตารางที่ 5 พบว่า 
-          นักเรียนระดับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,2 และ 3 โรงเรียนบ้านซาต (มงคลวิทยา) ก่อนการอบรมผลคะแนนทดสอบต่ำสุด เท่ากับ 11 คะแนน และสูงสุด เท่ากับ 17 คะแนน และหลังการอบรมผลคะแนนทดสอบต่ำสุดเท่ากับ 7 คะแนนและสูงสุดเท่ากับ 19 คะแนน จากคะแนนเต็ม 25 คะแนน
-          คะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านซาต(มงคลวิทยา) เท่ากับ 13.82 และหลังการอบรมเท่ากับ 14.02



สรุปความรู้ก่อนและหลังการอบรมของโรงเรียนประดู่แก้วประชาสรรค์
      ระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4 โรงเรียนประดู่แก้วประชาสรรค์ก่อนและหลังจัดทำโครงการ ฯ
      นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4 โรงเรียนประดู่แก้วประชาสรรค์ คะแนนก่อนและหลังการอบรมไม่มีความแตกต่างกัน ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) โดยมีความรู้ไม่แตกต่างกันจากก่อนการอบรม ดังตาราง

ตารางที่ 6
T-Test





   ขั้นตอนที่ 1 พิจารณาว่าข้อมูล 2 กลุ่มมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
               Paired Samples Correlations เป็นส่วนแสดงค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
Correlation
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเปียร์สัน (r) ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของ 2 กลุ่มที่นำมาทดสอบ ค่าที่ได้ 0.522 แสดงว่าคะแนนก่อนและหลังการอบรม มีความสัมพันธ์กันค่อนข้างสูงและไปในทิศทางเดียวกัน
-1 ≤ r ≤ 1
บวก ทิศทางเดียวกัน
ลบ ทิศทางเดียวตรงข้าม
Sig.
ค่าความน่าจะเป็นที่จะใช้ในการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ภายใต้สมมติฐานทางสถิติ ดังนี้
H0 : คะแนนทดสอบก่อนและหลังการอบรมไม่มีความสัมพันธ์กัน
H1 : คะแนนทดสอบก่อนและหลังการอบรมมีความสัมพันธ์กัน
               ค่า Sig. เท่ากับ 0.001 มีค่าน้อยกว่าค่า α  ที่กำหนดคือ 0.05
                การตัดสินใจ   ปฏิเสธสมมติฐาน H0 ยอมรับ H1
               สรุปผลได้ว่า   คะแนนก่อนและหลังการอบรมมีความสัมพันธ์กันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
             
 ขั้นตอนที่ 2 ข้อมูล 2 กลุ่มมีความสัมพันธ์กัน
               Paired Samples Test แสดงค่าสถิติสำหรับใช้ในการทดสอบค่าเฉลี่ย
Mean
ค่าเฉลี่ยของผลต่างระหว่างคะแนนก่อนและหลังการอบรม
Std. Deviation
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลต่าง
Std. Error Mean
ค่าความคาดเคลื่อนมาตรฐานของผลต่าง
95% Confidence
ค่าที่แสดงขอบเขตช่วงความเชื่อมั่น 95% ของผลต่างค่าเฉลี่ย
t, df
ค่าสถิติที่คำนวณได้จะใช้เทียบกับค่าจากตารางมาตรฐาน
Sig.(2-tailed)
ค่าความน่าจะเป็นในการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐาน H0
               ค่า Sig.(2-tailed) เท่ากับ 0.492 มีค่ามากกว่าค่า α ที่กำหนดคือ 0.05
               การตัดสินใจ   ยอมรับสมมติฐาน H0 ปฏิเสธ H1
               สรุปผลได้ว่า   คะแนนก่อนและหลังการอบรมไม่มีความแตกต่างกัน ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ             (p > 0.05) โดยมีความรู้ไม่แตกต่างกันจากก่อนการอบรม ดังตารางข้างต้น
ตารางที่ 7  แสดงการเปรียบเทียบผลคะแนนการเรียนรู้ก่อนและหลังการอบรม
ผลรวมคะแนน
จำนวน
ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่า t
Sig.
ก่อน
หลัง
35
35
15.86
16.20
2.534
3.288
-0.695*
0.492
* P > 0.05
จากการทดสอบ พบว่า ผลคะแนนรวมก่อนการเข้ารับการอบรมไม่แตกต่างกันกับผลคะแนนรวมหลังการอบรม ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

ตารางที่ 8

จากตารางที่ 8  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนประดู่แก้วประชาสรรค์ที่ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมมีทั้งสิ้น 35 คน คิดเป็นร้อยละ 100

ตารางที่ 9


แผนภูมิที่ 2


จากแผนภูมิที่ 2   พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนประดู่แก้วประชาสรรค์ ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมโดยแยกเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 51.43 และเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 48.57

ตารางแสดงผลคะแนนก่อนการอบรมแยกรายข้อ
ข้อที่ 1
ข้อที่ 2



ข้อที่ 3

ข้อที่ 4

ข้อที่ 5

ข้อที่ 6


ข้อที่ 7

ข้อที่ 8

ข้อที่ 9

ข้อที่ 10

ข้อที่ 11

ข้อที่ 12

ข้อที่ 13

ข้อที่ 14

ข้อที่ 15

ข้อที่ 16

ข้อที่ 17

ข้อที่ 18

ข้อที่ 19

ข้อที่ 20

ข้อที่ 21
ข้อที่ 22

ข้อที่ 23

ข้อที่ 24

ข้อที่ 25

ตารางที่ 10 แสดงค่าต่ำสุด สูงสุดและคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการอบรมของนักเรียนชั้น ม.2 โรงเรียนประดู่แก้วประชาสรรค์

จากตารางที่ 10 พบว่า
-          นักเรียนระดับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนประดู่แก้วประชาสรรค์ ก่อนการอบรมผลคะแนนทดสอบต่ำสุด เท่ากับ 9 คะแนน และสูงสุด เท่ากับ 20 คะแนน และหลังการอบรมผลคะแนนทดสอบต่ำสุดเท่ากับ 10 คะแนนและสูงสุดเท่ากับ 23 คะแนน จากคะแนนเต็ม 25 คะแนน
-          คะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนประดู่แก้วประชาสรรค์ เท่ากับ 15.86 และหลังการอบรมเท่ากับ 16.20





การจัดกิจกรรมวันอบรมโครงการฯ
กิจกรรมแลกน้ำ (การประเมินโอกาสเสี่ยงทางเพศ)
การแลกน้ำเป็นกิจกรรมกลุ่ม จำลองการระบาดของ HIV ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจสถานการณ์การแพร่ระบาดของเอดส์ในสังคมไทยซึ่งมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การประเมินโอกาสเสี่ยงของตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวัน และมีทางเลือกในการป้องกันลดภาวะเสี่ยง ผู้ติดเชื้อก็เหมือนน้ำใสๆที่อยู่ในแก้วซึ่งเรามองไม่ออกว่าใครติดเชื้อบ้าง วิธีเดียวที่จะบอกได้ว่าบุคคลนั้นได้รับเชื้อ คือ การตรวจเลือด  ผลการจัดทำกิจกรรม ฯ พบว่านักเรียน ฯ มีความรู้ความเข้าใจการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม เป็นสาเหตุสำคัญของการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ประเทศไทย การแลกน้ำหลายครั้ง เปรียบเหมือนการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลหลายคน  เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอดส์ หากต้องการลดเสี่ยงต้องมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย คือ การสวมถุงยางอนามัย และการแลกน้ำครั้งเดียว เปรียบเสมือนการมีเพศสัมพันธ์ของกลุ่มที่รักเดียวใจเดียว มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก มีคู่นอนคนเดียว ก็มีโอกาสได้รับเชื้อ HIV เช่นกัน การมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมและการตรวจเลือดก่อนแต่งงานสามารถลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ และการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

นักเรียน ฯ ร่วมกิจกรรมแลกน้ำ สะท้อนความคิด
น้ำในแก้วมีสีแดง:หลังจากหยดสารฟีนอฟทาลีน หมายถึงติดเอดส์ ท่านคิดว่าติดเอดส์จากใคร...ติดเอดส์เพราะ...มีวิธีป้องกันอย่างไร……รักเดียวใจเดียว...มีคู่นอนคนเดียว...ช่วยให้ปลอดภัยจากการได้รับเชื้อจริงหรือ???”
ในชีวิตจริงเรามีโอกาสมีเพศสัมพันธ์กี่ครั้ง มีโอกาสที่จะมีกับคนมากกว่า 1 คนหรือไม่
กิจกรรมแลกน้ำทำให้นักเรียนทราบว่า
- การมีเพศสัมพันธ์ครั้งเดียว ครั้งแรกกับคนๆเดียว ก็อาจติดเชื้อได้
- คนส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ คือ กลัวตั้งครรภ์มากกว่ากลัวติดเชื้อ
- สาเหตุที่ไม่สวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ เพราะเชื่อใจ มั่นใจคู่ของตน
- หากเราเคยมีประสบการณ์ทางเพศ เราจะบอกความจริงกับคู่นอนของเราหรือไม่
- หากประเมินว่าคู่นอนไม่เคยมีประสบการณ์ทางเพศมาก่อน โอกาสที่จะใช้ถุงยางอนามัยมีมากหรือน้อย
แนะนำการทำกิจกรรมกลุ่ม
วัชรพงศ์  สุกใส : วิทยากรกระบวนการ อธิบายอุปกรณ์ที่นักเรียนจะได้รับ แก้วน้ำ กระบอกเข็มฉีดยาและจับคู่แลกน้ำ 5 ครั้ง คู่ไม่ซ้ำคนเดิมและแลกน้ำครั้งเดียวสำหรับกลุ่มอาสาสมัครรักเดียวใจเดียว
คณะวิทยากรฯ : สรุป
 




กลุ่มแสดงความเห็นกิจกรรมเสี่ยงฯ
กิจกรรมแลกน้ำ : เปรียบเสมือนการการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันฯ
โอกาสการติดเชื้อ HIV  คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกับคนที่มีเชื้อซึ่งดูไม่ออกจากภายนอก

กิจกรรมกลุ่มระดับความเสี่ยง (QQR)
ระดับความเสี่ยงเป็นกิจกรรมกลุ่ม ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องการติดต่อของโรคเอดส์ และส่งเสริมการยอมรับในการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อ HIVหรือผู้ป่วยเอดส์  ได้จัดกิจกรรมระดับความเสี่ยง ณ โรงเรียนบ้านซาต (มงคลวิทยา) และโรงเรียนประดู่แก้วประชาสรรค์ 2 แห่ง ผลการจัดทำกิจกรรมสรุปได้ดังนี้
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 , 2 และ 3  โรงเรียนบ้านซาต(มงคลวิทยา) และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4 โรงเรียนประดู่แก้วประชาสรรค์ ตอบแบบประเมินความเสี่ยงยังมีบางคนที่เข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโอกาสได้รับเชื้อ เช่น ยุงกัดผู้ป่วยเอดส์และมากัดเราเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อที่ระดับความเสี่ยงมาก หรือการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อขณะมีประจำเดือนไม่ได้สวมถุงยางอนามัยไม่เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ เป็นต้น
กิจกรรมนี้ ใช้หลักการคิดวิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยงของ WHO (องค์การอนามัยโลก)
การที่คนๆ หนึ่งจะได้รับเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกายจะต้องประกอบด้วย 3 ปัจจัย  ดังนี้
-          ปริมาณของเชื้อ (Quantity)
-          คุณภาพของเชื้อ (Quality)
-          ช่องทางการติดต่อ  (Route of Transmission)
Quantityปริมาณ/แหล่งที่อยู่ของเชื้อ
-          เชื้อ HIV อยู่ในคนเท่านั้น (เกาะอยู่กับเม็ดเลือดขาว)
-          เชื้อ HIV อยู่ในสารคัดหลั่งบางอย่างในร่างกายของคนที่มีเชื้อ HIV เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำนมแม่ ซึ่งมีปริมาณที่ไม่เท่ากัน
-          ต้องมีจำนวนเชื้อ HIV ในปริมาณที่มากพอในสารคัดหลั่งที่เป็นที่อยู่ของเชื้อ
Qualityคุณภาพของเชื้อ
          -    เชื้อ HIV ต้องมี คุณภาพพอ
          -    เชื้อ HIV ไม่สามารถมีชีวิตอยู่นอกร่างกายคนได้
          -    สภาพในร่างกาย และสภาพแวดล้อม บางอย่างมีผลทำให้เชื้อไม่สามารถอยู่ได้ เช่น ความเป็นด่างในน้ำลาย กรดในกระเพาะอาหาร สภาพอากาศ ความร้อน ความแห้ง น้ำยาต่างๆ
Route of transmission - ช่องทางการติดต่อ
-          ไวรัส HIV จะต้องถูกส่งผ่านจากคนที่ติดเชื้อ ไปยังอีกคนหนึ่ง โดยเชื้อจะต้องตรงเข้าสู่กระแสเลือด
                 ทางเพศสัมพันธ์สอดใส่
                 ทางเลือด(การใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน)
                 แม่สู่ลูก






 เสี่ยง...เทคโนโลยีมันกว้างไกลมากกว่าที่เราคาดไม่ถึง และยังมีสารเสพติดมากมาย เช่น เหล้า” “เสี่ยง...เพราะพวกเราจะก้าวเข้าสู่วัยรุ่น” “เสี่ยง...เพราะวัยรุ่นในชุมชนมีแต่คนดื่มสุราและไม่มีสติ” “เสี่ยง...เพราะวัยรุ่นในชุมชนพาไป และสิ่งแวดล้อมไม่ค่อยอำนวยด้วย
ไม่เสี่ยง...ตั้งแต่เล็กจนโตไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ไม่เคยใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น และคุณแม่ไม่ได้ติดเชื้อเอดส์ เคยพูดคุยกับผู้ติดเชื้อเอดส์ แต่โรคเอดส์ไม่ได้ติดต่อทางการพูดคุย
ไม่แน่ใจ...ตอนเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาได้ฉีดวัคซีนกับคุณหมออนามัย
การค้นหาความเสี่ยงในนักเรียนรายบุคคล
นักเรียนคิดว่าตนเองเสี่ยงต่อการติดเอดส์หรือไม่...(เสี่ยงมาก, ไม่เสี่ยง,ไม่แน่ใจ )...เพราะ???”
การค้นหาความเสี่ยงในนักเรียนรายกลุ่ม
นักเรียนคิดว่าพฤติกรรมใดที่เสี่ยงต่อการติดเอดส์...(ไม่เสี่ยง,เสี่ยงน้อย,เสี่ยงปานกลาง, เสี่ยงมาก)...เพราะ???”

แนะนำการทำกิจกรรมกลุ่ม
วัชรพงศ์  สุกใส : วิทยากรกระบวนการ อธิบายแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะได้รับบัตรคำการกระทำต่างๆที่ทำกับผู้ติดเชื้อ 21 บัตรคำ และบัตรจัดระดับความเสี่ยง 4 ระดับ
คณะวิทยากรฯ : สรุปความเสี่ยงรายบุคคล
คุณกัลยาณี  บุญสรรค์ : อธิบายความเสี่ยงฯ หลัก QQR
กลุ่มแสดงความเห็นกิจกรรมเสี่ยงฯ
คนทั่วไปคิดว่าเอดส์ติดต่อง่าย แต่จากการจัดกิจกรรมนี้เอดส์ติดต่อยาก และส่วนใหญ่กังวลใจพฤติกรรมที่ไม่เสี่ยงเลย เป็นเหตุให้เกิดการรังเกียจผู้ติดเชื้อไม่กล้าใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับผู้ติดเชื้อ
โอกาสติดเชื้อจากแม่สู่ลูก
                   โอกาสติดเชื้อ 25-30%
                 ระหว่างตั้งครรภ์
                   รกผิดปกติ
                 ตอนคลอด
                   คลอดโดยธรรมชาติ
          เด็กสัมผัสเลือดมาก
                 หลังคลอด
                   การกินนมแม่
โอกาสการติดเชื้อ HIV ใน 10,000 คน



กิจกรรมการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
ผู้หญิงเมื่ออายุ 13 ปีขึ้นไป เสียงจะเปลี่ยนไม่แหลมแสบแก้วหู มีน้ำมีนวล มีสิว กลิ่นตัว หน้าอก นมใหญ่ขึ้น หัวนมมีสีคล้ำ สะโพกใหญ่เอวคอด อวัยวะเพศใหญ่ขึ้นมีขนขึ้น มีประจำเดือน คือ สามารถตั้งครรภ์ได้




ชายเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เสียงจะแตกห้าว มีสิว กลิ่นตัว หน้าอกตั้งหัวนมนูนขยายใหญ่ มีมัดกล้ามเนื้อไหล่กว้าง ตัวสูง ขนขึ้นที่หัวหน่าว รักแร้ หน้าแข้ง หนวด อวัยวะเพศใหญ่ยาว มีฝันเปียก คือ ร่างกายมีการขับอสุจิส่วนเกินออกจากร่างกาย เป็นการปลดปล่อยพลังงานทางเพศตามธรรมชาติ บ่งบอกว่าร่างกายสืบพันธุ์ได้ มีลูกได้
การป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ถุงยางอนามัยเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้รับการควบคุมพิเศษ เชื้อ HIV มีขนาดเล็กกว่าตัวอสุจิถึง 30 เท่า แต่ไม่สามารถเล็ดลอดผ่านถุงยางอนามัยได้ แม้ถุงยางอนามัยได้รับการขยายถึง 3,000 เท่า ซึ่งเป็นกำลังขยายที่สามารถมองเห็นเชื้อ HIV แต่ถุงยางอนามัยก็ไม่มีรอยรั่วซึมมีลักษณะเป็นเพียงหลุมเล็กๆเท่านั้น และถุงยางอนามัยสามารถป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

การสวมถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง




(1). ตรวจสอบคุณภาพ + ฉีกซอง
ตรวจเดือนปีที่หมดอายุ (expiry date / EXP) ว่า ยังไม่หมดอายุ
เลือก ซื้อจากร้านที่เก็บสินค้าไว้ในที่เย็น ไม่ถูกแดดหรือความร้อน ซึ่งจะทำให้ยางมีอายุสั้นลง และเตรียมไว้หลายๆ ถุง เพื่อป้องกันปัญหาถุงเสื่อมสภาพ ฉีกขาด
เวลาฉีกซองต้องระวังเล็บและ เครื่องประดับ เช่น แหวน นาฬิกา ฯลฯ รวมทั้งของมีคมทุกชนิด เนื่องจากการสะกิดถุงยางด้วยเล็บหรือของมีคมจะทำให้โอกาสถุงแตก รั่ว ฉีกขาดเพิ่มขึ้น

 

(2). สวมเมื่ออวัยวะเพศแข็งตัวแล้ว ซึ่งมักจะมีน้ำเชื้อนำร่องออกมาเล็กน้อยน้ำเชื้อนำร่องเพียง 1-2 หยดก็มากพอที่จะทำให้เกิดการตั้งครรภ์ หรือทำให้เกิดโรคติดต่อได้ ซึ่งอาจต้องไปล้างน้ำ ซับให้แห้ง แล้วเริ่มขั้นตอนนี้ใหม่

 

(3). บีบไล่อากาศออกจากกระเปาะตรงปลายถุงยางฯ เบาๆ จนไม่มีฟองอากาศอยู่ถ้าไม่บีบไล่ฟองอากาศ เวลาหลั่งน้ำเชื้อ (อสุจิ) หรือร่วมเพศอาจทำให้กระเปาะนี้แตกได้



 
(4). รูดถุงยางอนามัยลงไปจากส่วนหัว (ปลาย) อวัยวะเพศไปยังส่วนโคน


(5). หลังการหลั่งน้ำเชื้อ (อสุจิ), อวัยวะเพศมักจะอ่อนตัวลง ให้ใช้มือจับส่วนโคนอวัยวะเพศไว้ เพื่อป้องกันถุงยางฯ หลุด แล้วถอยอวัยวะเพศออกมาพร้อมๆ กับถุงยาง อย่าเพิ่งถอดถุงยางออก เมื่อถอนอวัยวะเพศออกมาหมดแล้ว ใช้กระดาษทิชชูหุ้มรอบโคนถุงยางแล้วค่อยถอดถุงยางฯ ออก ซึ่งต้องระวังอย่าให้มือไปสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือของเหลวจากคู่นอนถ้าสัมผัส จำเป็นต้องเปิดก๊อกน้ำให้น้ำผ่านมือ แล้วล้างออกด้วยสบู่หลายๆ ครั้ง เพื่อลดโอกาสติดโรค


 

(6). ห่อถุงยางฯ ด้วยกระดาษทิชชูหรือใส่ในถุงให้มิดชิด ใส่ในถังขยะ
การทิ้งถุงยางลงในชักโครกมีส่วนทำให้ท่อตัน หรือบ่อกำจัดน้ำเสียเต็มเร็ว (พบบ่อยตามหอพัก)


 
ยาคุมฉุกเฉิน


 








รับประทานยาเม็ดแรกให้เร็วที่สุดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน โดยไม่ควรเกิน 72 ชั่วโมง และจะต้องรับประทานยาเม็ดที่สองหลังจากรับประทานยาเม็ดแรกไม่เกิน 12 ชั่วโมง หากมีการอาเจียนภายใน  2 ชั่วโมงหลังรับประทานยาแต่ละเม็ด  ต้องรับประทานยาใหม่  และไม่แนะนำให้รับประทานยาเกิน  4  เม็ด หรือ 2กล่อง ต่อเดือน
ข้อเสนะแนะ/ปัญหาและการพัฒนา
1. ความคุ้มทุน : ค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการของนักเรียนโดยเฉลี่ย ฯ 110 บาท/คน (ค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับต่ำมีความคุ้มทุน) ข้อเสนอแนะ : ควรศึกษาทบทวนกิจกรรมที่มีประสิทธิผลและสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลายตามระดับชั้น ควรเพิ่มงบประมาณในการจัดทำโครงการครั้งต่อไป
2. ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเอดส์ : นักเรียนได้รับข้อมูลข่าวสารฯ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 10.70% (อยู่ในระดับต่ำ) ข้อเสนอแนะ : เร่งรัดการพัฒนาระบบสุขศึกษาในโรงเรียนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
3. ปัญหาเอดส์และเพศศึกษาสำหรับวัยรุ่น : นักเรียนมีความคิดเห็นว่าการจัดกิจกรรมป้องกันโรคเอดส์ในโรงเรียนยังไม่ตรงกับความต้องการฯ 35.70% และ นักเรียนมีความต้องการพัฒนาเป็นโรงเรียนต้นแบบในการป้องกันเอดส์ ข้อเสนอแนะ : ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เรื่องเอดส์และเพศศึกษาในโรงเรียน
4. มีการติดตามและจัดตั้งเครือข่ายป้องกันเอดส์ในโรงเรียนทั้ง 2 แห่ง
5. ควรมีการจัดกิจกรรมเรื่องเพศศึกษาทั้งในโรงเรียนและชุมชนให้มากขึ้นกว่าเดิม
6. ขาดอุปกรณ์และสื่อที่ใช้ในการสอนเพศศึกษาและราคาค่อนข้างแพง ได้รับความอนุเคราะห์ยืมสื่อจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์ ขอบคุณมา ณโอกาสนี้ด้วย